การเสริมหน้าอกให้ได้รูปทรงที่สวยงามขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ทั้งความสมดุลของขนาด รูปทรง ตำแหน่งของหัวนม และความสมส่วนของสรีระร่างกาย อีกทั้งการศัลยกรรมเสริมหน้าอกยังมีข้อจำกัดหลายอย่าง เช่น ความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและผิวหนัง โครงสร้างหน้าอกของแต่ละคนที่ไม่เหมือนกัน การเลือกศัลยแพทย์ที่มีทักษะและประสบการณ์ไม่ดีพอ อาจทำให้การเสริมหน้าอกในครั้งแรกไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่คาดหวัง จึงจำเป็นต้องมีการผ่าตัดแก้หน้าอก แก้นมที่เสริมมาแล้ว เพื่อช่วยแก้ไขปรับรูปทรงหน้าอกที่มีขนาดหรือรูปทรงผิดปกติ ไม่สวยงาม จนทำให้รู้สึกไม่มั่นใจ ให้ได้รูปทรงใหม่ที่สวยงามและดูดีขึ้น
ทำไมต้องผ่าตัดแก้ไขหน้าอกที่เคยเสริมมาแล้ว?
เหตุผลที่ทำให้คนที่เคยเสริมหน้าอกมาแล้ว ตัดสินใจผ่าตัดแก้ไขหน้าอก หรือ แก้นม อาจเป็นเพราะหน้าอกที่ได้ไม่สวยเหมือนตอนทำใหม่ ๆ รูปทรง ตำแหน่งดูไม่เป็นธรรมชาติ หรือต้องการแก้นมเพื่อลดขนาด ศัลยแพทย์ที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล จะร่วมวิเคราะห์ถึงปัญหาและความต้องการของคนไข้ เพื่อเลือกแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละคน โดยปัญหาที่เรามักพบจากการเสริมหน้าอกที่ต้องมีการแก้หน้าอกใหม่ มีดังนี้
1. ปัญหาขนาดเต้านม (Size Problems)
- กรณีต้องการเปลี่ยนขนาดเต้านมให้เล็กลง
กรณีที่ต้องการแก้ไขเปลี่ยนขนาดเต้านมเทียมจากที่ใหญ่เกินไปให้เล็กลง การแก้ไขจะต้องคำนึงถึงผิวหนังที่เหลือและจะทำให้เต้านมห้อยตกลงมากว่าปกติ ในกรณีนี้ศัลยแพทย์อาจจะพิจารณาแก้หน้าอกร่วมกับการยกกระชับหน้าอกด้วย
- กรณีต้องการเปลี่ยนขนาดเต้านมให้ใหญ่ขึ้น
กรณีที่ต้องการแก้หน้าอกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ศัลยแพทย์จะพิจารณาตำแหน่งที่วางของถุงเต้านมเดิม ถ้าถุงเต้านมเดิมวางอยู่ใต้กล้ามเนื้อ ศัลยแพทย์ก็จะใช้ตำแหน่งใต้กล้ามเนื้อนี้ ขยายโพรงเดิมเพื่อใส่เต้านมเทียมอันใหม่ แต่ถ้าเต้านมเทียมอันเดิม อยู่ใต้เนื้อนมศัลยแพทย์จะเปลี่ยนตำแหน่งที่วางถุงเต้านมเทียมใหม่ให้มาอยู่ใต้กล้ามเนื้อแทน พร้อมกับเลาะเอาเนื้อเยื่อพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมเดิมออกให้หมด เพื่อป้องกันการเกิดนมสองชั้น (Bubble Effect)
2. ปัญหาถุงเต้านมเทียมแตกหรือรั่ว (Leakage and Ruptured)
ถุงเต้านมเทียมที่เป็นวัสดุทางการแพทย์ก็เหมือนกับผลิตภัณฑ์ทั่ว ๆ ไป ที่อาจเกิดการแตกและรั่วได้ ซึ่งเกิดในกรณีที่ถุงเต้านมเทียมเป็นถุงน้ำเกลือ บริเวณตำแหน่งวาล์วมีโอกาสรั่วซึมได้สูงจะทำให้น้ำเกลือค่อย ๆ ซึมออกจากถุง ทำให้ขนาดเต้านมข้างที่มีการรั่วซึมจะแฟบลง ทำให้ขนาดของเต้านมสองข้างไม่เท่ากัน ต้องรีบผ่าตัดเปลี่ยนถุงเต้านมเทียมทันที ในกรณีที่มีการแตกของถุงเต้านมซิลิโคนจะดูยากมาก เพราะซิลิโคนที่ซึมออกมาจะอยู่ในเนื้อเยื่อห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมอยู่ ถ้าสงสัยความผิดปกติที่เกิดขึ้นจะต้องตรวจสอบจาก เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องตรวจเต้านม (Mammogram) หรือจากเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ หลังจากนั้นก็จะมีการเอาถุงเต้านมเทียมออก แล้วใส่เต้านมเทียมอันใหม่เข้าไปแทน
3. ปัญหาเกิดพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว (Capsular Contracture)
ปัญหาพังผืดที่ห่อหุ้มเต้านมเทียม จากปฏิกิริยาของร่างกายที่สร้างเนื้อเยื่อออกมาห่อหุ้มสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกาย เนื้อเยื่อพังผืดจะมีการพัฒนาเพิ่มความหนา เหนียว แข็ง แล้วพัฒนาไปสู่การรัดถุงเต้านมเทียมทำให้ถุงเต้านมเทียมไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ทำให้เกิดเต้านมผิดรูป แข็ง และเจ็บ การผ่าตัดแก้ไขพังผืดห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว โดยศัลยแพทย์จะผ่าตัดเอาเนื้อเยื่อพังผืดรอบ ๆ ถุงเต้านมเทียมออกให้หมด แล้วเปลี่ยนตำแหน่งวางเต้านมเทียมใหม่ (ดูเพิ่มเติม)
รูปที่ 1: ปัญหาเกิดพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว
4. ปัญหานมลอย/ นมสูง (Upward position Implant)
เกิดจากการเสริมเต้านมแล้วถุงเต้านมเทียมลอยสูงกว่าตำแหน่งปกติ จึงทำให้คนไข้ต้องผ่าตัดแก้หน้าอก ด้วยการแก้ไขให้ตำแหน่งของเต้านมเทียมต่ำลงมาอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ในกรณีนี้ศัลยแพทย์จะทำการตัดหรือเลาะเอาพังผืดออก และขยายโพรงให้ต่ำลงมา โดยอาศัยตำแหน่งของหัวนมเป็นจุดศูนย์กลางของถุงเต้านมเทียมอันใหม่
รูปที่ 2: ปัญหานมลอย/ นมสูง
5. ปัญหานมห่าง (Cleavage Breast)
หลังจากผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนมมาแล้ว ทำให้มองเห็นว่าเต้านมสองข้างอยู่ห่างกันมากเกินไป การผ่าตัดแก้หน้าอกห่างนี้ ทำได้โดยการเปิดแผลใต้ราวนมแล้วเปิดขยายโพรงเข้าสู่แนวกึ่งกลางของทรวงอกมากขึ้น ขณะเดียวกันก็เย็บลดขนาดความกว้างด้านข้างของโพรงเดิม เพื่อขยับแนวตำแหน่งของเต้านมเทียมใหม่ เข้าสู่แนวเส้นกลางหน้าอกมากขึ้น ผลการผ่าตัดจะทำให้ร่องหน้าอกแคบลงกว่าเดิม
6. ปัญหานมตก (Bottoming out of breast)
หลังผ่าตัดเสริมนม ถุงเต้านมเทียมอยู่ในระดับที่ต่ำเกินไปเมื่อเทียบกับตำแหน่งของหัวนม ซึ่งเป็นผลมาจากการผ่าตัดที่สร้างโพรงใส่ถุงเต้านมเทียมต่ำมากเกินไป หรือเกิดจากกล้ามเนื้อหน้าอกมีความแข็งแรงและยืดหยุ่นน้อย ทำให้ระดับถุงเต้านมเทียมต่ำกว่าระดับที่ควรจะเป็นและมีหัวนมชี้ขึ้น ในกรณีนี้การผ่าตัดแก้หน้าอกต้องเปิดแผลบริเวณใต้ราวนม เย็บกระชับกล้ามเนื้อด้านในขอบล่างของเต้านมให้สูงขึ้น เพื่อให้ตำแหน่งเต้านมเทียมที่ใส่เข้าไปใหม่สูงขึ้นได้ระดับเหมาะสมกับตำแหน่งหัวนม
รูปที่ 3: ปัญหานมตก
7. ปัญหาเนื้อนมเป็นริ้วๆ (Rippling)
หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนม เนื้อนมเป็นริ้ว ๆ สามารถมองเห็นได้ชัด ซึ่งเกิดจากคนที่มีผิวหนังและกล้ามเนื้อบาง การแก้ไขทำได้ 2 วิธีโดย การฉีดไขมันเสริมเข้าไปบริเวณที่เป็น เพื่อเพิ่มปริมาณความหนาของเนื้อเยื่อใต้ผิวหนังนั้น อีกวิธีหนึ่งโดยใช้วัสดุที่เรียกว่า เนื้อเยื่อเทียม หรือ Acellular Dermal Matrix (ADM) ซึ่งเป็นวัสดุที่ทำจากผิวหนังมนุษย์แล้วไปย่อยสลายโปรตีนออก นำไปวางบริเวณที่ต้องการแล้วจะมีเนื้อเยื่อเติบโตขึ้นมาเสริมความหนาตรงบริเวณที่วางเนื้อเยื่อเทียม (ADM) ไว้ เพื่อเติมเต็มเนื้อเยื่อในบริเวณนั้น
8. ปัญหานมแฝด ( Symmastia Uniboob)
นมแฝด หรือ นมชิดกัน หลังจากการผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนม อาจจะมีลักษณะที่เต้านมชิดกันมากเกินไป แทบไม่มีร่องอก ขณะเดียวกันตำแหน่งของหัวนมก็ชี้ออกด้านข้าง การผ่าตัดแก้หน้าอกจะทำโดยการเปิดแผลใต้ราวนมแล้วขยายโพรงให้ออกไปด้านข้างมากขึ้น แล้วเย็บแก้ไขกล้ามเนื้อด้านในร่องหน้าอก ทำให้หน้าอกมีร่องกว้างขึ้น
รูปที่ 4: ปัญหานมแฝดหรือนมชิดกัน
9. ถอดซิลิโคนเต้านมออกเนื่องจากกังวลการเป็นมะเร็งชนิด BIA-ALCL (Breast implant Associated - Anaplastic Large Cell Lymphoma)
เป็นมะเร็งที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของคนไข้เอง แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกับมะเร็งเต้านม โดยทั่วไปจะพบมีอาการหลังจากการเสริมเต้านมประมาณ 1 ปีขึ้นไป บางท่านอาจพบอาการหลังจากเสริมไปได้ 8-10 ปี อาการดังกล่าว ได้แก่ หน้าอกใหญ่ขึ้น, เจ็บ, หน้าอกไม่เท่ากัน, มีก้อนที่ต่อมน้ำเหลืองหรือใต้รักแร้, ผิวหนังแดง, นมแข็ง หรือรู้สึกว่ามีน้ำเหลืองอยู่ในเต้านมเยอะ หากมีอาการดังกล่าวอย่างใดอย่างหนึ่งให้รีบพบแพทย์ทันที ให้รีบทำการวินิจฉัยว่าเป็น BIA-ALCL หรือไม่ ถ้าพบว่าใช่ ให้เข้าสู่ขบวนการรักษา จะต้องถอดเต้านมเทียมออกพร้อมกับเอาเนื้อเยื่อที่หุ้มเต้านมเทียมออกให้หมดแล้วส่งต่อให้แพทย์ผู้เชี่ยวชาญรักษามะเร็งต่อไป
รีวิวผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม ที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล
คุณน้ำเย็น พัสวี
คุณน้ำเย็นเสริมหน้าอกมากว่า 10 ปี มีปัญหาหน้าอกแข็งและซิลิโคนลอย จึงเข้าผ่าตัดแก้ไขหน้าอกให้นิ่มเป็นธรรมชาติและใหญ่ขึ้น
คุณแคนดี้ กุลชญา
ตอนที่คุณแคนดี้ประกวดนางงาม ต้องการหน้าอกที่มีขนาดใหญ่ให้เหมาะสมกับรูปร่างแบบบนางงาม
หลังจากนั้นได้เข้าสู่อาชีพนางแบบ จึงต้องการหน้าอกเล็กลง งาม จึงผ่าตัดลดขนาดหน้าอก เพื่อให้เหมาะกับอาชีพนางแบบ
เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม ที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล
โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล จะร่วมวิเคราะห์ถึงปัญหาและความต้องการของคนไข้ เพื่อเลือกแนวทางและเทคนิคการผ่าตัดแก้หน้าอก แก้นมที่เหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละคน ดังนี้
1. เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขนมแตก หรือ ถุงเต้านมเทียมแตกหรือรั่ว (Leakage and Ruptured)
เปิดเลาะพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมทั้งสองข้าง เปลี่ยนชั้นวางเต้านมให้เป็นชั้นกล้ามเนื้อ ทำโพรงใส่ถุงเต้านมใหม่ จัดรูปทรงให้สวยงาม
2.เทคนิคผ่าตัดแก้ไขพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว (Capsular Contracture)
เปิดเลาะพังผืดออกให้หมด พังผืดรัดเต้านมจะเหนียว และแข็งมาก ปรับแต่งโพรงเต้านมใหม่ จัดรูปทรงให้สวยงาม
3. เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขนมลอย นมสูง (Upward Position Implant)
เปิดแผลใต้ราวนม ทำการเลาะพังผืดถุงเต้านมออก สร้างโพรงใส่เต้านมให้ต่ำลงมาโดยมีหัวนมเป็นจุดศูนย์กลาง จัดรูปทรง แต่งทรงให้สวยงาม
4. เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขนมห่าง (Cleavage Breast)
เปิดแผลใต้ราวนม เปิดเลาะพังผืดออกให้หมด สร้างโพรงใหม่ใต้กล้ามเนื้อให้ชิดกันมากขึ้น โดยคำนึงถึงตำแหน่งหัวนมเป็นศูนย์กลาง จัดรูปทรง แต่งทรงให้สวยงาม
5. เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขนมตก (Bottoming out of Breast)
เปิดแผลใต้ราวนม เปิดเลาะพังผืดออกให้หมด เปลี่ยนชั้นเป็นใต้กล้ามเนื้อ สร้างโพรงใส่เต้านมให้สูงขึ้นเย็บกล้ามเนื้อขึ้น จัดรูปทรง แต่งทรงให้สวยงาม
6. เทคนิคการผ่าตัดแก้ไขนมแฝด (Symmastia Uniboob)
เปิดแผลใต้กล้ามเนื้อ เปิดเลาะพังผืดออกให้หมด เย็บกล้ามเนื้อระหว่างร่องอกให้กว้างกว่าเดิม ขยายโพรงด้านข้างออก ให้หัวนมเป็นจุดศูนย์กลาง ตกแต่งให้สวยงาม
ผู้ที่เหมาะกับการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
- มีความกังวลจาก ขนาด รูปทรง จากการผ่าตัดเสริมหน้าอกที่ผ่านมา
- นมแข็งผิดรูป
- มีร่างกายที่สมบูรณ์ แข็งแรง
- มีความคาดหวังอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
- สุขภาพจิตที่มั่นคง เพราะการผ่าตัดศัลยกรรมอาจส่งผลกระทบต่อสภาวะทางจิตใจของผู้ป่วยได้
- ไม่อยู่ในภาวะตั้งครรภ์
การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
- ปรึกษาศัลยแพทย์ถึงสิ่งที่คาดหวัง และผลการผ่าตัดที่จะเป็นไปได้ ซึ่งคนไข้จะต้องระลึกเสมอว่า การผ่าตัดแก้ไขจะซับซ้อนและยุ่งยากกว่าการผ่าตัดครั้งแรก การผ่าตัดแก้ไขมีหลากหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับสาเหตุและความต้องการของคนไข้ แพทย์จะอธิบายตำแหน่งของแผล ขนาด รูปทรงอย่างละเอียด และทำการตรวจสุขภาพ ตรวจร่างกาย Chest x ray, ตรวจเลือด ตรวจ EKG, Stress test ถ้าอายุเกิน 40 ปี เพื่อผ่าตัดโดยการวางยาสลบ
- หยุดการสูบบุหรี่ ก่อนและหลังผ่าตัด 2 สัปดาห์
- หยุดยา ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดเช่น แอสไพริน หรือวิตามินบางชนิด สมุนไพรก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์
ขั้นตอนการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
พึงระลึกเสมอว่าการผ่าตัดครั้งที่สองจะยากกว่าการผ่าตัดครั้งแรก ด้วยหลายสาเหตุอย่างเช่น ความหนาและเหนียวของเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียม ในคนไข้แต่ละคนที่แตกต่างกันไป การเอาเนื้อเยื่อส่วนนี้ออกอาจจะทำให้เนื้อนมบางส่วนหายไป เป็นการยากที่จะคาดเดาผลลัพธ์การผ่าตัด รวมถึงความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อในคนไข้แต่ละคน จึงเป็นความท้าทายอย่างยิ่งของศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดแก้หน้าอกให้กลับมาสวยงาม ดูดีขึ้น โดยขั้นตอนการผ่าตัดแก้หน้าอก มีดังนี้
- คนไข้ดมยาสลบ
- วิธีการผ่าตัดแก้หน้าอกขึ้นอยู่กับชนิดของสาเหตุและปัญหา อย่างไรก็ตาม การผ่าตัดต้องเปลี่ยนถุงเต้านมเทียมใหม่ทุกครั้ง บางกรณี อาจจะมีการเอาเนื้อเยื่อที่ห่อหุ้มเต้านมเทียมออก มีการเปลี่ยนขนาดรูปทรงและตำแหน่งของโพรงเต้านมเทียม หรือบางกรณีอาจจะมีการผ่าตัดยกกระชับด้วยในเวลาเดียวกัน
- เย็บปิดแผลภายในด้วยไหมละลาย
- เย็บปิดแผลที่ผิวหนังแล้วรอดูผล
ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 1-4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปัญหาความซับซ้อนปัญหาที่เกิดขึ้นในครั้งแรก
การดูแลแผลหลังผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
การดูแลแผลหลังผ่าตัดแก้หน้าอก แก้นม จะมีการดูแลแผลคล้าย ๆ กับการผ่าตัดเสริมเต้านม แต่จะมีความหลากหลายกว่า ดังนี้
- รักษาความสะอาด ทำแผลให้แห้ง 2-3 วัน หลังผ่าตัด
- อาจจะใช้เจลเย็นประคบเพื่อลดการบวม
- เวลานอนให้ยกตัวขึ้นเล็กน้อยเพื่อช่วยอาการช้ำบวม
- รับประทานยาแก้ปวดตามที่แพทย์สั่ง
- ตัดไหม 7 วันหลังผ่าตัด
- พบแพทย์ทุกครั้งที่มีการนัดหมาย
- สวมเสื้อรัดหน้าอกเพื่อยกกระชับรักษาตำแหน่งของเต้านม ช่วยลดอาการบวม และป้องกันการสะสมของน้ำเหลือง
- ห้ามยกของหนักใน 6 อาทิตย์แรกหลังผ่าตัด
- หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหนัง 2 สัปดาห์แรก
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนหลังการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
- แผลเป็นที่มองเห็นชัด เช่น แผลเป็นนูน แผลเป็นคีลอยด์ (Keloid)
- เลือดออก (Bleeding)
- หน้าอกเขียวช้ำ (Bruising)
- อาการปวดหลังการผ่าตัด (Pain)
- แผลสมานตัวช้า (Poor healing)
- เต้านมสองข้างอาจมีขนาด ตำแหน่ง และรูปทรง ไม่เท่ากัน
- ภาวะติดเชื้อ ให้สังเกตว่าถ้ามีอาการร้อน แดง บวมที่เต้านมจนอาจจะนำไปสู่การมีไข้ อาจจะเกิดการติดเชื้อให้รีบพบแพทย์ทันที (Infection)
- ความรู้สึกบริเวณหัวนมเปลี่ยนแปลงหรือชา (Decreased or Lost Sensation)
- ภาวะพังผืด (Capsular contracture) ทำให้นมแข็ง ผิดรูปร่าง และต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไขได้
- ซิลิโคนเหลว หรือน้ำเกลือ แตกรั่วออกจากถุงซิลิโคน
- การย่นตัวเป็นคลื่นของผิวหนังที่ขอบของเต้านม
- ปัญหาที่เกิดจากเต้านมเทียม (Implant Failure) เช่นเต้านม,ร่างกายไม่รับเต้านมเทียมที่ใส่เข้าไป
- ความเสี่ยงจากการดมยาสลบ (Risk from anesthesia)
การพักฟื้นหลังการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
การพักฟื้นจะคล้ายกับการผ่าตัดเสริมเต้านมครั้งแรก ระยะเวลาในการพักฟื้นอาจจะสั้นกว่า ในกรณีที่ถอดเต้านมเทียมอย่างเดียว บางกรณีอาจจะใช้เวลาในการพักฟื้นนานขึ้น เช่น คนที่ผ่าตัดแก้ไขหน้าอกและยกกระชับด้วย การพักฟื้นขึ้นอยู่กับวิธีการผ่าตัดแก้หน้าอก อาการชาที่เกิดขึ้นจากการผ่าตัดอาจจะกลับมา แต่ต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป งดการออกกำลังกายประมาณ 6 สัปดาห์
รูปก่อนและหลังผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม ที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล
ดูรูปก่อนและหลังผ่าตัดแก้หน้าอก แก้นม เพิ่มเติม
ผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นมที่ไหนดี มาที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล
- ได้รูปทรงหน้าอกที่แก้ไข สวยงาม อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสมดุลของตำแหน่งของหัวนม เนินหน้าอกรวมถึงความกว้างของทรวงอกให้ได้ขนาด และรูปทรงที่เหมาะกับรูปร่างของแต่ละบุคคล
- หน้าอกที่ทำการแก้ไข สามารถแกว่งไกวเป็นธรรมชาติ ตามการเคลื่อนไหวของสรีระในการเดิน การวิ่ง หรือการทำกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้มีเสน่ห์น่าชวนมอง
- ศัลยแพทย์มีความเชี่ยวชาญ และความชำนาญสูง สามารถแก้ไขหน้าอกที่มีปัญหาต่าง ๆ ได้
- โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมีข้อกำหนดเลือกใช้ ถุงเต้านมเทียมที่ผ่านการรับรอง ขององค์การอาหารและยาในประเทศไทย และ สหรัฐอเมริกาเท่านั้น สามารถตรวจสอบถุงเต้านมเทียมได้ทุกชิ้น เราจะเก็บประวัติการใช้ถุงเต้านมเทียมของคนไข้ วันที่ผ่าตัด รุ่น ขนาด ตามรหัสของวัสดุ สามารถแจ้งหรือติดต่อกับคนไข้ได้ทันทีที่ได้รับแจ้งปัญหาจากองค์การอาหารและยาของ ประเทศไทย หรือ สหรัฐอเมริกา
- สามารถแก้ไขหน้าอกที่ทำศัลยกรรมมาแล้วผิดรูปทรง แข็ง เนื่องจากมีพังผืด (Capsular Contracture) ห่อหุ้ม และรัดตัวถุงเต้านมเทียม จะต้องแก้ไขด้วยการผ่าตัดดมยาสลบเปิดแผลใต้ราวนมเลาะพังผืดที่เหนียวและแข็งมากออกให้หมด ถ้าเอาออกไม่หมดหน้าอกจะกลับมาแข็งเหมือนเดิม แล้วทำการจัดรูปทรงหน้าอกใหม่ให้สวยงาม
- ห้องผ่าตัดมาตรฐานโลก สะอาดปลอดเชื้อ มีระบบการหมุนเวียนของอากาศผ่านระบบกรองเชื้อโรค Hepa Filter ตามมาตรฐาน JCI ลดโอกาสติดเชื้อจากระบบการหมุนเวียนของอากาศภายในห้องผ่าตัด โดยเฉพาะการติดเชื้อทางเดินหายใจเช่น Virus COVID-19
- มีเครื่องมือผ่าตัดที่ทันสมัย มีการผ่าตัดเสริมหน้าอก / ทำนม ด้วยกล้อง ทำให้แผลเล็ก ศัลยแพทย์สามารถมองเห็นการฉีกขาดของแผลภายในได้ชัดเจน ทำให้แพทย์สามารถใช้เครื่องจี้หยุดเลือดได้รวดเร็ว แม่นยำจากการดูแผลภายในผ่านกล้อง
- มีระบบการจัดการ ดูแลผู้ป่วยหลังผ่าตัดเสริมหน้าอก /ทำนม ที่ห้องพักฟื้นมีทีมแพทย์พยาบาลคอยดูแล ผลข้างเคียงที่อาจจะเกิดหลังการผ่าตัด เช่น การคลื่นไส้อาเจียนหลังดมยาสลบ หรือ อาการปวดหลังผ่าตัดทำนม การให้ยาแก้ปวดอย่างแรง ต้องมีการดูแลอย่างใกล้ชิดหลังการให้ยาด้วยวิสัญญีพยาบาล เมื่อผู้ป่วยหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนม ปลอดภัยดีแล้ว จึงสามารถส่งกลับห้องพักผู้ป่วยได้
- โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมีนโยบาย ต้องตรวจร่างกายคนไข้ ก่อนทำการผ่าตัดเสริมหน้าอก/ทำนมทุ กเคส โดยต้องตรวจเลือดทั่วไป และ เอกซเรย์ปอด ถ้ามีข้อสงสัยสามารถปรึกษาแพทย์อายุรกรรมได้ทันทีก่อนผ่าตัด เพื่อความปลอดภัยของคนไข้ ซึ่งบางครั้งอาจจะไม่ทราบว่าตัวเองมีโรคที่แอบแฝงอยู่แล้วอาจจะมีผลต่อการผ่าตัด และ การดมยาสลบ
- ทำการผ่าตัดแก้ไขหน้าอกด้วยศัลยแพทย์ตกแต่งเท่านั้น
- สถานที่สะอาด ปลอดภัย กว้างขวาง สามารถรักษา Social Distancingได้ดี มีมาตรฐานในการป้องกันการติดเชื้อและการระบาดของโรคทางเดินหายใจเช่น COVID 19 ได้เป็นอย่างดี มีคัดกรองผู้ป่วยและมีห้องแยกผู้ป่วยแบบ Negative pressure เพื่อคัดแยกผู้ที่สงสัยว่าอาจจะป่วยออกจากผู้อื่นทันที
รายชื่อศัลยแพทย์ที่ทำการผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
สาระน่ารู้ การผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
การรั่ว (Leakage) และการแตก (Rupture) ของถุงเต้านมเทียม จะเกิดขึ้นเมื่อเปลือกนอกของถุงเต้านมเทียมได้รับความเสียหาย หรือเกิดจากการได้รับการบาดเจ็บบริเวณเต้านม
พังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก เกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อรอบเต้านมเทียมแข็งตัวขึ้น จากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย
"นมแฝด" หรือ "นมชิด" เป็นภาวะหนึ่งที่พบไม่บ่อย เกิดจากเนื้อเยื่อของเต้านมและผิวหนังของผนังหน้าอกมาติดกัน ทำให้เนื้อเยื่อบริเวณเต้านมติดกันตลอดแนวกึ่งกลางหน้าอก
วีดิทัศน์ การผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
สาเหตุหลักที่ทำให้ต้องผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม
สาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ที่เคยเสริมหน้าอกไปแล้ว ตัดสินใจมาผ่าตัดแก้หน้าอก แก้นม ได้แก่
- พังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว: เมื่อเนื้อเยื่อแผลเป็นตามธรรมชาติรอบเต้านมเทียมเริ่มกระชับและบีบเต้านมเทียม จะทำให้คนไข้มีอาการปวดและรูปร่างของเต้านมบิดเบี้ยว
- ถุงเต้านมเทียมแตกหรือรั่ว: น้ำเกลือหรือซิลิโคนอาจแตกออกเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้เต้านมสูญเสียปริมาตร และอาจเกิดการรั่วซึมของสิ่งที่อยู่ภายในเต้านมเทียม
- ถุงเต้านมเทียมอยู่ในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม: เต้านมเทียมอาจเลื่อนออกจากตำแหน่งเมื่อเวลาผ่านไป ทำให้หน้าอกไม่สมมาตรหรือมีลักษณะที่ไม่เป็นธรรมชาติ
- ความชอบที่เปลี่ยนไปในเรื่องขนาดหรือรูปร่างของเต้านม: ผู้หญิงอาจเลือกถอดเต้านมเทียมเดิมออก แล้วแทนที่ด้วยเต้านมเทียมที่มีขนาดใหญ่กว่าหรือมีรูปร่างที่ถูกใจ
- การกระเพื่อมหรือรอยย่น: ผู้หญิงบางคนอาจมีการกระเพื่อมหรือรอยเหี่ยวย่นของผิวหนังเหนือเต้านมเทียม ซึ่งสามารถมองเห็นได้ผ่านผิวหนัง
- มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิดหายาก (BIA-ALCL): มะเร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด non-Hodgkin's (มะเร็ง) หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลืองเซลล์ขนาดใหญ่ anaplastic (BIA-ALCL) อาจเกิดขึ้นภายหลังการใส่เต้านมเทียม
- โรคประจำตัว: โรคประจำตัวบางชนิด เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง การติดเชื้อ หรือการตั้งครรภ์ อาจทำให้ต้องถอดหรือเปลี่ยนเต้านมเทียม
เต้านมเทียมไม่ใช่อุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งานยาวนาน อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนหรือถอดออกในบางครั้ง
ทำไมต้องผ่าตัดแก้ไขหน้าอก แก้นม ที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล
โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลเป็นสถานพยาบาลชั้นนำของประเทศไทยที่เชี่ยวชาญด้านศัลยกรรมตกแต่งและศัลยกรรมเสริมความงาม รวมถึงการผ่าตัดแก้หน้าอก แก้นม โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมีชื่อเสียงในด้านสิ่งอำนวยความสะดวกที่ล้ำสมัย เทคโนโลยีขั้นสูง และทีมศัลยแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรมและมีประสบการณ์สูง
ทีมศัลยแพทย์ของโรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล มีประสบการณ์ในการผ่าตัดแก้หน้าอก แก้นม และมีทักษะในเทคนิคการผ่าตัดแก้ไขประเภทต่าง ๆ เช่น การเปลี่ยนเต้านมเทียม การถอดเต้านมเทียม และการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับเต้านมเทียม เช่น การหดตัวและความไม่สมมาตรของเต้านมเทียม ทีมศัลยแพทย์จะใช้เทคนิคการผ่าตัดใหม่ล่าสุด รวมถึงการผ่าตัดโดยใช้กล้องเอนโดสโคป (Endoscope-assisted Surgery) ทำให้แผลผ่าตัดขนาดเล็กลงและมีแผลเป็นน้อยที่สุด
นอกจากนี้ โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลยังมีเทคโนโลยีใหม่ล่าสุด รวมถึงซอฟต์แวร์ (Software) สร้างภาพและจำลองภาพ 3 มิติ เพื่อวางแผน ออกแบบ และดำเนินการผ่าตัดตามขั้นตอนต่าง ๆ เทคโนโลยีนี้ช่วยให้ศัลยแพทย์บรรลุผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและตอบสนองความต้องการของคนไข้
โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมีชื่อเสียงในด้านความมุ่งมั่นในการให้การบริการที่เป็นเลิศและการดูแลเอาใจใส่อย่างมีคุณภาพ เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลทุ่มเทเพื่อให้คนไข้รู้สึกสบายใจและได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตลอดการรักษา นับตั้งแต่การให้คำปรึกษาจนถึงการพักฟื้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลยังให้บริการดูแลหลังการรักษาแบบครบวงจร เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุดและช่วยให้คนไข้สามารถฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายหลังการผ่าตัด
ปัจจัยทั้งหมดนี้ส่งผลให้โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมีชื่อเสียงในฐานะผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านการผ่าตัดแก้หน้าอก แก้นม คนไข้จากทั่วทุกมุมโลกเดินทางมาที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล เพื่อเข้ารับการผ่าตัดแก้ไขถุงเต้านมเทียม เนื่องจากโรงพยาบาลมีชื่อเสียงในด้านการดูแลที่มีคุณภาพและผลลัพธ์ที่เป็นเลิศ