การเลาะแก้ไขพังผืด การเสริมเต้านม Capsular Contracture

การผ่าตัดแก้ไขเนื้อเยื่อพังผืด   หลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก

          เนื้อเยื่อพังผืดที่เกิดจากการรัดตัวมาห่อหุ้ม ถุงเต้านมเทียม (Capsular contracture) เป็นภาวะแทรกซ้อนทีพบได้บ่อยครั้งที่สุดของการทำการเสริมเต้านม  เป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดของการผ่าตัดแก้ไข  เสริมหน้าอก เป็นผลมาจากปฏิกิริยาของร่างกายที่กระทำต่อถุงเต้านมเทียมซึ่งถือเป็นวัสดุแปลกปลอม ส่งผลให้ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อ ห่อหุ้มโดยรอบถุงเต้านม  อย่างแน่นหนา ทำให้เต้านมแข็งมาก และผิดรูปทรง บางครั้งอาจจะมีอาการเจ็บปวด แน่นหน้าอก

เนื้อเยื่อพังผืดหดรั้ง แบ่งได้เป็น 4 ระดับตามการแบ่งของ  Baker Classification system 

ระดับ 1 เต้านมยังคงมีลักษณะอ่อนนุ่ม ร่วมกับมีรูปร่างและขนาดดูปกติเป็นธรรมชาติ
ระดับ 2 เต้านมมีลักษณะแข็งขึ้นเล็กน้อย ไม่มีรูปร่างผิดปกติ
ระดับ 3 เต้านมมีลักษณะแข็งมากขึ้น ร่วมกับมีรูปร่างผิดปกติ
ระดับ 4 เต้านมมีลักษณะแข็ง กดแล้วเจ็บ และมีรูปร่างผิดปกติ
โดยระดับ 3 ถึง 4 จำเป็นต้องได้รับการผ่าตัดแก้ไข

ภาพก่อนหลังการผ่าตัดแก้ไข_พังผืดจากการเสริมหน้าอก

ภาพก่อนหลังการผ่าตัดแก้ไข_พังผืดจากการเสริมหน้าอก

                                                                                            รูปแสดงภาพก่อนหลังการผ่าตัดแก้ไข พังผืดจากการเสริมหน้าอก

เนื้อเยื่อพังผืดหดรั้งเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

สำหรับสาเหตุที่พบได้บ่อยของการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดนั้น มีดังนี้
1.เทคนิคของศัลยแพทย์ อาทิ ก้อนเลือด (Hematoma) การปนเปื้อน (Contamination) 
2.ถุงเต้านมเทียม ซึ่งคุณภาพนั้นอาจแตกต่างไปตามวัสดุที่ใช้ 
3.ตัวผู้ป่วย ซึ่งปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันต่อวัสดุเทียมนั้นอาจแตกต่างไปตามแต่ละบุคคล

จะรักษาได้อย่างไร ?
 
1. การผ่าตัด Capsulotomy : โดยศัลยแพทย์จะทำการขยายเนื้อเยื่อพังผืดที่ห่อหุ้มอยู่ การผ่าตัดนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อพังผืดระดับ 1-2 
2. การผ่าตัด Capsulectomy : โดยศัลยแพทย์จะทำการเลาะเนื้อเยื่อพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมออก การผ่าตัดนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีเนื้อเยื่อพังผืดระดับ 3-4
 
สำหรับผู้ป่วยที่ได้ผ่าตัดเลาะเนื้อเยื่อพังผืดออกร่วมกับใส่ถุงเต้านมเทียมใหม่ จากการศึกษาของ Caffee พบอุบัติการณ์การกลับมาเป็นซ้ำ 30.7% 

แหล่งอ้างอิง

1. https://en.wikipedia.org/wiki/Capsular_contracture
2. https://journals.lww.com/prsgo/FullText/2016/10000/ Open_Capsulotomy ___An_Effective_but_Overlooked.7.aspx