เสริมสร้างหน้าอกใหม่

การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ สำหรับผู้ที่สูญเสียเต้านม (Breast Reconstruction)

         การผ่าตัดศัลยกรรม สร้างเต้านมใหม่ เป็นการผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อสร้างเต้านมขึ้นมาใหม่ทดแทนเต้านมเดิมที่เสียไป เนื่องจากถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม,ผู้ที่สูญเสียเต้านมจากการถูกไฟไหม้ หรือทรานเจนเดอร์จากหญิงเป็นหญิงที่ต้องการกลับมามีเต้านมอีกครั้ง สำหรับผู้ที่ต้องตัดเต้านมออกเนื่องจากเป็นมะเร็งเต้านม เมื่อต้องการจะเสริมสร้างเต้านมใหม่ ต้องได้รับการตรวจจากแพทย์ผู้รักษาโรคมะเร็งแล้วว่าได้ทำการรักษาโรคมะเร็งเต้านมหายเรียบร้อยแล้ว

ผู้ที่เหมาะสมผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

  1. ผู้ที่รักษาโรคมะเร็งเต้านมหายเรียบร้อยแล้ว
  2. ผู้ที่ต้องการเสริมสร้างเต้านมใหม่ จากการถูกไฟไหม้หรือได้รับอุบัติเหตุ
  3. ผู้จะเข้ารับการผ่าตัดต้องไม่ได้รับการฉายรังสีบริเวณหน้าอก
  4. ไม่สูบบุหรี่
  5. ไม่มีโรคที่เกี่ยวกับเนื้อเยื่อ เช่น SLE, โรคไขข้ออักเสบ และ โรคหนังแข็ง

โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล มีการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ 2 แบบดังนี้

  • ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ถุงเต้านมเทียม

          แพทย์จะใช้ถุงเต้านมเทียมแบบซิลิโคนหรือแบบถุงเติมน้ำเกลือ ใส่เข้าไปในโพรงใต้กล้ามเนื้อ ในกรณีที่ผิวหนังตึงมาก และมีแผลเป็นรั้ง ศัลยแพทย์จะใช้วิธีการขยายเนื้อเยื่อใต้กล้ามเนื้อโดยการใช้ Tissue Expander ค่อยๆขยาย ก่อนที่จะใส่ถุงเต้านมเทียมเข้าไป

  • ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้เนื้อเยื่อตัวเอง

            โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมีการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้โดยใช้เนื้อเยื่อตัวเองหลากหลายวิธีดังนี้

  • ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง (TRAM- Transverse ectus abdominis muscle flap) ศัลยแพทย์จะใช้ส่วนของผิวหนัง, กล้ามเนื้อหน้าท้องและไขมันหน้าท้องบริเวณตั้งแต่ใต้สะดือลงมา โดยที่ยังเก็บเส้นเลือดไว้และนำเนื้อเยื่อส่วนนั้นไปสร้างเป็นเต้านมใหม่ให้มีรูปทรงคล้ายกับเต้านมอีกข้างให้มากที่สุด วิธีการนี้เป็นวิธีใช้กันมาก แต่คนไข้จะสูญเสียกล้ามเนื้อบริเวณหน้าท้อง อาจทำให้ กล้ามเนื้อบริเวณนี้ไม่แข็งแรง

TRAM_flap_(Transverse_rectus_abdominis_muscle_flap)

รูปที่ 1: ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง (TRAM)

 

  • ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ผิวหนังและไขมันหน้าท้อง (DIEP-Deep inferior epigastric perforator flap) ศัลยแพทย์จะใช้เนื้อเยื่อและไขมัน โดยที่ไม่เอาชั้นกล้ามเนื้อ นำมาสร้างเป็นเต้านมใหม่ การผ่าตัดนี้เป็นการผ่าตัดต่อเส้นเลือดด้วยกล้องจุลทรรศน์ วิธีการนี้มีข้อดีคือไม่สูญเสียกล้ามเนื้อหน้าท้อง แต่ข้อเสียคือการต่อเส้นเลือดอาจจะทำให้เกล็ดเลือดแข็งตัวเป็นก้อนวิ่งไปตามเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดเกิดการอุดตัน 

DIEP_flap_(Deep_inferior_epigastric_perforator_flap)

รูปที่ 2: ขั้นตอนการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ผิวหนังและไขมันหน้าท้อง (DIEP)

  • ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่โดยใช้เนื้อเยื่ออื่น ขึ้นอยู่กับความต้องการและข้อจำกัดของคนไข้ เช่น LD-flap (Latissimus Dorsi flap) เป็นวิธีการเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยจะใช้ผิวหนังกล้ามเนื้อ Latissimus Dorsi และไขมันบริเวณหลัง มาผ่าตัดตกแต่งเสริมสร้างเป็นเต้านมใหม่
     

การเตรียมตัวก่อนผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

  1. ปรึกษาศัลยแพทย์ถึงสิ่งที่คาดหวัง และผลการผ่าตัดที่จะเป็นไปได้ แพทย์จะอธิบายขั้นตอน ตำแหน่งของแผล ขนาด รูปทรงอย่างละเอียด และทำการตรวจสุขภาพ ตรวจร่างกาย  Chest x-ray, ตรวจเลือด  ตรวจ EKG, Stress test ถ้าอายุเกิน 40 ปี เพื่อผ่าตัดโดยการวางยาสลบ
  2. หยุดการสูบบุหรี่ ก่อนและหลังผ่าตัด 4 สัปดาห์
  3. หยุดยา ที่มีผลต่อการแข็งตัวของเลือดเช่น แอสไพริน หรือวิตามินบางชนิด สมุนไพรก่อนการผ่าตัด 2 สัปดาห์
     

การดูแลแผลหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

          การดูแลแผลหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้ถุงเต้านมเทียม

  • ใส่ผ้ารัดหน้าอก 7 วัน หลังผ่าตัด
  • ตัดไหมวันที่ 7 หลังผ่าตัด
  • นวดเต้านม การนวดขึ้นอยู่กับประเภทของวัสดุที่ใช้ในการศัลยกรรม
  • ต้องมีการผ่าตัดสร้างหัวนมและปานนมในการผ่าตัดครั้งต่อไป

          การดูแลแผลหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้เนื้อเยื่อตัวเอง ในการผ่าตัดประเภทนี้ จะต้องมีการดูแลแผลมากเป็นพิเศษ

  • ในกรณีที่ผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้โดยใช้ผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง คนไข้ต้องงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงหนัก เป็นเวลา 2 สัปดาห์หลังผ่าตัด
  • ในกรณีที่ผ่าตัดแบบ DIEP คนไข้ต้องพักฟื้นที่โรงพยาบาลอย่างน้อย 7วัน หลังผ่าตัด และงดกิจกรรมที่ต้องออกแรงเยอะ เป็นเวลาอย่างน้อย 4 สัปดาห์
     

ความเสี่ยงและผลข้างเคียงที่อาจเกิดหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

  1. การผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ โดยใช้โดยใช้ผิวหนังและกล้ามเนื้อหน้าท้อง โดยปกติแล้วศัลยแพทย์จะเลือกใช้เนื้อเยื่อส่วนที่เหมาะกับกับไข้มากที่สุด แต่ในบางกรณีแผลอาจจะเกิดการสมานช้า และมีอาจมีการไหลเวียนของเลือดไม่ดี เนื่องจากการรักษาจากครั้งที่แล้ว
  2. แผลสมานตัวช้า (Poor healing)  
  3. ความรู้สึกบริเวณหัวนมเปลี่ยนแปลงหรือชา  (Decreased or Lost Sensation) Bleeding, hematoma, and seroma
  4. ภาวะติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัด (Infection)
  5. กล้ามเนื้อหน้าท้องไม่แข็งแรงเหมือนเดิม และอาจมีอาการชาร่วมด้วย
  6. ผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์: ผู้ป่วยอาจสังเกตเห็นเต้านมใหม่ที่ไม่เท่ากัน ไม่สมมาตรหรือดูผิดธรรมชาติ
     

การพักฟื้นหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่

          การพักฟื้นหลังผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเทคนิคในการผ่าตัด

  1. คนไข้ที่ทำการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยถุงเต้านมเทียม ต้องใช้เวลาในการพักฟื้น 2 สัปดาห์
  2. คนไข้ที่ทำการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่วิธีขยายโพรงใต้กล้ามเนื้อ (Tissue expansion) ต้องทำการขยายโพรงเป็นเวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ เพื่อที่จะใส่ถุงเต้านมเทียม ดังนั้นจึงต้องมีการพักฟื้นนานกว่าการผ่าตัดโดยการใส่ถุงเต้านมเทียมธรรมดา
  3. คนไข้ที่ทำการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยเนื้อเยื่อตัวเอง ต้องพักฟื้นประมาณ 2 สัปดาห์
  4. คนไข้ที่ทำการผ่าตัดเสริมสร้างเต้านมใหม่ด้วยเนื้อเยื่อตัวเอง แผลจะเป็นปกติประมาณ 6-12 เดือน

ข้อมูลโดย

วีดิทัศน์: การเสริมสร้างหน้าอกใหม่

ดูเพิ่มเติม

สาระน่ารู้: การเสริมสร้างหน้าอกใหม่

สร้างหน้าอกใหม่ เรียกความมั่นใจ เมื่อต้องตัดหน้าอกจากโรคมะเร็ง

การผ่าตัดเสริมสร้างหน้าอกใหม่ให้กับผู้ที่ต้องตัดเต้านม จากการรักษาโรคมะเร็งเต้านม หรือ มีเนื้องอกบริเวณหน้าอก ให้มีโอกาสกลับมามีหน้าอกใหม่ที่สวยงาม ทำให้มีความมั่นใจอีกครั้ง

ความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึงในการผ่าตัดเสริมสร้างหน้าอกใหม่

การผ่าตัดเสริมสร้างหน้าอกใหม่ แม้จะเป็นการผ่าตัดศัลยกรรมเพื่อฟื้นฟูรูปร่างและลักษณะของเต้านมให้กลับมาสวยงามอีกครั้ง แต่คนไข้ยังต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้

ขั้นตอนของการผ่าตัดเสริมสร้างหน้าอกใหม่ ที่คนไข้ต้องรู้ก่อน

การผ่าตัดเสริมสร้างหน้าอกใหม่จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ การผ่าตัดเสริมสร้างหน้าอกขึ้นใหม่ และ การผ่าตัดฟื้นฟูหน้าอก เพื่อให้คนไข้มีหน้าอกใกล้เคียงกับหน้าอกเดิมมากที่สุด

ดูเพิ่มเติม

โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลช่วยให้คนไข้มีหน้าอกที่สวยงามหลังการรักษาโรคมะเร็งเต้านมได้อย่างไร?

          โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลให้บริการผ่าตัดศัลยกรรมเสริมความงามที่หลากหลาย รวมถึงการเสริมสร้างหน้าอกใหม่หลังการรักษาโรคมะเร็งเต้านม โรงพยาบาลมีทีมศัลยแพทย์ตกแต่งที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ พร้อมทักษะที่ใช้เทคนิคการผ่าตัดขั้นสูง เพื่อช่วยให้สตรีเพศมีรูปลักษณ์ที่สวยงามหลังการผ่าตัดเต้านม (Mastectomy) เพื่อรักษาโรคมะเร็งเต้านม หรือการผ่าตัดเนื้องอก (Lumpectomy) บริเวณเต้านม

          การเสริมสร้างหน้าอกใหม่จากการผ่าตัดรักษาโรคมะเร็งเต้านมเป็นการผ่าตัดศัลยกรรมหลายขั้นตอนด้วยการผ่าตัดเพียงครั้งเดียวหรือหลายครั้งและอาจใช้เวลานานหลายเดือนจึงจะเสร็จสมบูรณ์

          การเสริมสร้างหน้าอกใหม่ขึ้นอยู่กับความต้องการและเป้าหมายของคนไข้แต่ละคน ทีมศัลยแพทย์ของโรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลจะให้คำปรึกษากับคนไข้เพื่อออกแบบวิธีการรักษาที่ดีที่สุดเพื่อให้ได้ผลลัพธ์และบรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ

          เทคนิคในการเสริมสร้างหน้าอกใหม่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดของโรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล คือ การผ่าตัดเสริมหน้าอกโดยใช้เต้านมเทียม (implant-based reconstruction) ศัลยแพทย์จะใส่ถุงเต้านมเทียมบริเวณหน้าอกเพื่อให้เต้านมมีรูปร่างและปริมาตรตามที่ต้องการ

          โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลให้บริการผ่าตัดเสริมสร้างหน้าอกใหม่ด้วยวิธีการหลากหลายรูปแบบ เช่น การเสริมหน้าอก การยกกระชับหน้าอก และการลดขนาดหน้าอก ซึ่งสรรสร้างหน้าอกที่มีขนาดและรูปร่างตามต้องการ เพื่อทำให้ผู้หญิงมีความมั่นใจในตนเองเพิ่มมากขึ้นและมีรูปลักษณ์โดยรวมที่ดีขึ้น

บทสรุป

          โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลยินดีให้บริการเสริมสร้างหน้าอกใหม่ ช่วยให้คนไข้มีหน้าอกที่สวยงามด้วยเทคนิคการผ่าตัดขั้นสูงหลากหลายวิธีและการดูแลคนไข้หลังการผ่าตัด พร้อมทีมศัลยแพทย์ตกแต่งที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ที่จะให้คำปรึกษากับคนไข้ เพื่อออกแบบวิธีการรักษาที่ดีที่สุดและสามารถตอบสนองความต้องการและเป้าหมายของคนไข้แต่ละคน โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลจะช่วยให้คนไข้มีหน้าอกที่รูปลักษณ์สวยงาม กระชับ และเต่งตึงขึ้น

 
 
 
 

World-Class_Elite_Plastic_Surgeons

World-Class_Professional_Healthcare

World-Class_Services