ศัลยกรรม ขากรรไกร เลื่อนขากรรไกร บน/ ล่าง

ศัลยกรรมขากรรไกร การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร (Mandibular Osteotomy, Corrective Jaw Surgery)

          เป็นการผ่าตัดเพื่อปรับการทำงานของกระดูกขากรรไกรและฟันที่ผิดปกติให้อยู่ในตำแหน่งที่สามารถทำงานได้ดีขึ้น การผ่าตัดขากรรไกรต้องทำร่วมกับการจัดฟัน ต้องมีการวางแผนการทำงานร่วมกันระหว่างศัลยแพทย์ช่องปากและขากรรไกร กับทันตแพทย์จัดฟัน การผ่าตัดขากรรไกรสามารถทำได้ โดยผู้หญิงหลังอายุ 14-16 ปี ผู้ชายหลังอายุ 17-21 ปี  นอกจากนี้ การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรยังเป็นการปรับรูปหน้า และ คางที่ยื่นมากเกินไป  หรือ แนวฟันบนที่ยุบมากเกินไป ให้เข้าสู่สมดุลของกราม และคาง ทำให้ใบหน้าสวยงามได้สัดส่วนอีกด้วย

ประโยชน์ศัลยกรรมขากรรไกร การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

  1. ช่วยในการกัด และการขบเคี้ยวของฟันดีขึ้น
  2. แก้ไขปัญหาการกลืน และการพูดไม่ชัด เนื่องจากการสบฟันไม่ปกติ
  3. ลดปัญหาการแตกหักของฟันเวลาขบเคี้ยว
  4. ทำให้การสบฟันหน้าดีขึ้น
  5. ทำให้ใบหน้า คาง กราม และขากรรไกรดูสมดุล สวยงาม
  6. ทำให้ริมฝีปากปิดฟันบนฟันล่างได้พอเหมาะพอดี
  7. แก้ไขปัญหา Sleep apnea และ การนอนกรน ได้ดีขึ้น

การเตรียมตัวก่อนศัลยกรรมขากรรไกร ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

          ทันตแพทย์จัดฟันต้องมีการเตรียมการจัดฟันไว้ให้ศัลยแพทย์กราม และขากรรไกรอย่างน้อย 12 เดือน เพื่อจัดตำแหน่งของฟันให้พอดีกับที่ทางศัลยแพทย์จะตัด จึงต้องมีการปรึกษาในแต่ละเคสกันตลอดเวลาจนพร้อม เมื่อถึงวันนัดผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ทันตแพทย์จัดฟันจะทำงานร่วมกับศัลยแพทย์ขากรรไกรและช่องปาก ระหว่างนั้นจะมีการเอกซเรย์พิมพ์ฟัน และทำความสะอาดฟันไว้ให้พร้อม 

          การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร จะทำโดยศัลยแพทย์ช่องปากและขากรรไกร (Oral and Maxillo Facial Surgeon)  ภายใต้การดมยาสลบที่โรงพยาบาล ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ 2-4 ชั่วโมง พักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 2-4 วัน

ขั้นตอนการศัลยกรรมขากรรไกร ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

ขั้นตอนที่ 1    ดมยาสลบ
ขั้นตอนที่ 2    เปิดแผล

          ตำแหน่งแผลผ่าตัด อยู่ภายในช่องปากตามแนวขากรรไกร ศัลยแพทย์จะตัดกระดูกขากรรไกรบน หรือล่าง เลื่อนเข้า หรือเลื่อนออก ให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมของฟันบน และฟันล่าง แล้วใส่แผ่น plate และ สกรูตัวเล็กๆ เพื่อยึดกระดูกให้ติดกัน  บางเคสอาจจะต้องการเสริมกระดูกเพิ่ม โดยอาจจะเอามาจากกระดูกก้นซี่โครงมาใช้ การผ่าตัดขากรรไกรอาจจะทำร่วมกับการตัดกราม หรือคางด้วยเพื่อให้เกิดความสวยงามและความสมดุลบนใบหน้า

ขั้นตอนที่ 3    เย็บปิดแผล

ระยะเวลาในการผ่าตัดประมาณ  2-4 ชั่วโมง พักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลประมาณ 2-4 วัน

การผ่าตัดศัลยกรรมขากรรไกร เลื่อนขากรรไกร มี 2 แบบ คือ

  1. การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบน ( Upper Mandibular Osteotomy )
  2. การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง ( Lower Mandibular Osteotomy )

1. การศัลยกรรมขากรรไกร ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบน (Upper Mandibular Osteotomy)

การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบน 

รูปที่ 1: การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบน 

          การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนเพื่อแก้ปัญหาการสบฟันหน้ากราม ไม่เป็นไปตามปกติโดยขากรรไกลบนยื่นออกไปมากเกินไปหรือ Open Bite ลักษณะฟันหน้าบน และล่างเปิดห่างจากกันขณะสบฟัน ถ้าไม่ทำการรักษาอาจทำให้การกัดอาหารไม่ขาด ออกเสียงไม่ชัด มีลักษณะการกลืนที่ผิดปกติ และเกิดการพัฒนาใบหน้าในแนวดิ่งมากกว่าปกติ ถ้าเป็นไม่มากสามารถแก้ไขได้ด้วยการจัดฟัน แต่ถ้าเป็นมากการจัดฟันอย่างเดียวไม่เพียงพอจึงจำเป็นต้องผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรเข้าไป หรือบางครั้งอาจจะมีการเลื่อนขากรรไกรบนออกมาเพื่อให้พอดีกับขากรรไกรล่างก็ได้ ขึ้นอยู่กับฟันของแต่ละบุคคล

          การผ่าตัดขากรรไกรบนศัลยแพทย์จะตัดกระดูกเหนือรากฟัน สามารถวางแผนจากคอมพิวเตอร์หรืออาจจะเอกซเรย์เพื่อให้ตัดได้ในตำแหน่งที่เหมาะสม ในระหว่างการผ่าตัดศัลยแพทย์จะตัดกระดูกแล้วตัดกระดูกส่วนเกินออกจะยึดด้วยกระดูกขากรรไกรด้วยสกูร และ Plate

2. การศัลยกรรมขากรรไกร ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง (Lower Mandibular Osteotomy)

การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง

รูปที่ 2: การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง

การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง

รูปที่ 3: การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรล่าง 

          เพื่อปรับขากรรไกรล่างที่ยื่นออกมาให้เข้าไปหรือถอยขากรรไกรล่างออกมาให้พอดีสมดุลกับขากรรไกรบนโดยศัลยแพทย์จะตัดกระดูกบางส่วนของขากรรไกรหลังฟันกรามทั้งสองข้างแล้วเลื่อนออกหรือเข้าและให้สกูรและ Plate

การดูแลหลังศัลยกรรมขากรรไกร ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

  • หลังการผ่าตัดวันแรก ให้จิบน้ำให้เยอะๆ เพื่อให้แผลในปากสะอาด และ ป้องกันการขาดน้ำ
  • ประคบเย็นข้างแก้ม  3-4  วันหลังผ่าตัด เพื่อลดปวดและบวม
  • จะต้องรับประทานอาหารอ่อนอย่างน้อย 1 เดือน
  • นอนหมอนสูงเพื่อให้ยุบบวมเร็วขึ้น
  • หลังผ่าตัดอาทิตย์แรก ใช้หลอดดูดอาหารเหลวใสเช่น นม น้ำข้าว ซุปใส ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง แล้วดูดน้ำล้างปากให้สะอาด
  • จะต้องรับประทานอาหารอ่อนอย่างน้อย 1 เดือน
  • คนไข้จะมียางเกี่ยวไว้ระหว่างฟันบน และ ฟันล่างเพื่อควบคุมตำแหน่งการสบฟัน เวลารับประทานอาหารอ่อน สามารถถอดออกได้ เมื่อทานอาหารเสร็จแล้วให้ใส่เหมือนเดิม
  • หลังผ่าตัดอาทิตย์แรก หลีกเลี่ยงการอ้าปากกว้าง
  • ทำความสะอาดในปากด้วยน้ำยาบ้วนปากบ่อยๆ
  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
  • รับประทานยาแก้ปวดสม่ำเสมอ
  • ไปพบแพทย์ตามนัดทุกครั้งเพื่อติดตามผลการผ่าตัด

การพักฟื้นหลังศัลยกรรมขากรรไกร ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

          กลับไปทำงานตามปกติ หลังผ่าตัด 3 อาทิตย์ แผลจะหายดี หลังผ่าตัด 6-12 อาทิตย์ ออกกำลังกายได้หลังผ่าตัด 1 เดือน

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของศัลยกรรมขากรรไกร ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

          การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรโดยทั่วไปจะปลอดภัยถ้าทำด้วยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกรามและขากรรไกร และทำงานร่วมกับทันตแพทย์จัดฟันแต่อย่างไรก็ตามการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรอาจมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้แก่

  • การสูญเสียเลือด( Bleeding)
  • ติดเชื้อ ( Infection)
  • เส้นประสาท ฉีกขาด บอบช้ำ ( Nerve Injury )
  • ขากรรไกรแตกหัก( Mandible Broken)
  • การกลับมาเลื่อนเข้าที่เดิมของขากรรไกร
  • ปัญหาการเจ็บปวด ขณะขบเคี้ยว ( Pain )
  • อาจต้องผ่าตัดใหม่ ถ้ามีปัญหาในเรื่องของการสบฟันหรือข้อต่อ TMJ  ( Re-surgery)
  • อาจจะมีการรักษารากฟันตามมาเพราะในระหว่างการผ่าตัดอาจจะมีรากฟันบางซี่ยาวมาก การตัดเลื่อนขากรรไกรอาจจะไปโดนรากฟันได้ ซึ่งอาจจะมีโอกาสกลับมารักษารากฟันได้
  • สูญเสียบางส่วนของกระดูกขากรรไกร( loss bone )
  • จะปวด และบวม มากน้อยขึ้นอยู่แต่ละบุคคล ใช้ยาแก้ปวด
  • มีปัญหาเกี่ยวกับการกินอาหาร  ในช่วงแรกหลังผ่าตัด 2-3 เดือนแรก เพราะกระดูกขากรรไกรที่ผ่าตัดใส่สกูรไว้ยังไม่แข็งแรงมาก ไม่สามารถขบเคี้ยวอาหารตามปกติได้จะต้องรับประทานอาหารอ่อนอาจจะเกิดการขาดสารอาหารได้จึงต้องการอาหารเสริมมาช่วย
  • ใช้เวลาในการยุบบวมเพื่อปรับรูปหน้าใหม่

ผลการศัลยกรรมขากรรไกร ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

  • ทำให้รูปหน้าสมส่วนดีขึ้น
  • การทำงานของฟันดีขึ้น
  • ทำให้การหลับ การหายใจ การเคี้ยว การกลืนดีขึ้น
  • การพัฒนาการออกเสียงดีขึ้น
  • ช่วยให้ใบหน้าเกิดความ สมดุล สวยงาม มีความมั่นใจมากขึ้น

สาระน่ารู้: การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ศัลยกรรมขากรรไกร

ก่อนการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร เตรียมตัวอย่างไร ?

การผ่าตัดเลื่อน ขากรรไกรบนและล่างเป็นการศัลยกรรมปรับรูปหน้า ที่เกี่ยวข้องกับ โครงสร้างของกระดูกหน้า ขากรรไกร ฟัน กราม และคาง เพื่อปรับการทำงานของระบบการขบเคี้ยว

คำแนะนำหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

การผ่าตัดแก้ไขความผิดปกติของขากรรไกร รวมถึงระบบการขบเคี้ยว ข้อต่อขากรรไกร (TMJ) เหงือกและฟัน เพื่อปรับการทำงานให้เป็นปกติ เกิดความสมดุลและสวยงาม

ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรปรับเปลี่ยนรูปหน้าให้สวยสมดุล ??

การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรเป็นหัตถการที่ช่วยปรับขากรรไกร บน/ล่าง ให้สมดุล อาจจะเป็นการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนหรือล่างอย่างใดอย่างหนึ่งหรือบนและล่างพร้อมกัน

ดูเพิ่มเติม

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ศัลยกรรมขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รูปก่อนและหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

ดูเพิ่มเติม

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ศัลยกรรมขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

รีวิวการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร

ดูเพิ่มเติม

วีดิทัศน์: การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ศัลยกรรมขากรรไกร

ดูเพิ่มเติม

คำแนะนำในการดูแลหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร ศัลยกรรมขากรรไกร

          ระหว่างการพักฟื้น การดูแลหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ศัลยแพทย์จะให้คำแนะนำที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละคน คำแนะนำในการดูแลหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรจะครอบคลุมถึง

1. การดูแลความเจ็บปวด

  • คนไข้อาจรู้สึกเจ็บปวดและไม่สบายหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร คนไข้สามารถรับประทานยาแก้ปวดที่ศัลยแพทย์สั่งจ่ายให้ โดยปกติหลังการผ่าตัดใหม่ ๆ จะเป็นยาฉีด หลังจากนั้นจะเป็นยาแก้ปวดชนิดน้ำ เป็นยาแก้ปวดอย่างแรงที่สามารถลดความเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี
  • คนไข้ควรรับประทานยาแก้ปวดพร้อมกับอาหารปริมาณเล็กน้อย เพื่อหลีกเลี่ยงการระคายเคืองของยาแก้ปวดกับผนังกระเพาะอาหาร
  • คนไข้ต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานยาแอสไพริน ผลข้างเคียงของยาแอสไพรินจะทำให้เลือดไม่แข็งตัวหรือแข็งตัวช้า ทำให้เลือดหยุดยาก อาจจะทำให้มีการสูญเสียเลือดออกมาจากแผลมากขึ้น

2. รักษาอาการบวมและฟกช้ำ

  • คนไข้จะมีอาการบวมและฟกช้ำภายใน 2-3 วันหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร
  • คนไข้สามารถประคบเย็นตามที่ศัลยแพทย์สั่ง (นาน 20 นาที แล้วหยุดพักอีก 20 นาที) ในช่วง 48 ชั่วโมงแรกหลังการผ่าตัด เพื่อลดอาการบวมและช่วยในการแข็งตัวของเลือด
  • คนไข้ต้องหนุนศีรษะสูงในขณะนั่งหรือนอน เพื่อช่วยลดอาการบวมของใบหน้า

3. การรับประทานอาหารหลังการผ่าตัด

  • ในช่วงแรกหลังการผ่าตัด คนไข้จะต้องรับประทานอาหารเหลวหรืออาหารอ่อนตามระยะเวลาที่กำหนด (ปกติจะใช้เวลานานหลายสัปดาห์) ในระหว่างที่มีการมัดฟัน อาจจะต้องใช้หลอดดูดน้ำและอาหารเข้าสู่ร่างกาย
  • ประมาณ 1-2 สัปดาห์ คนไข้จะถอดลวดที่มัดฟันออก แต่ยังมียางพยุงฟันอยู่ จะสามารถเคี้ยวอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้มหมู แล้วจึงค่อย ๆ พัฒนาและปรับการขบเคี้ยวอาหารอ่อนไปจนถึงอาหารปกติทีละขั้นตอน หลังผ่าตัด 2 สัปดาห์ ตามคำแนะนำของศัลยแพทย์หรือนักโภชนาการ
  • คนไข้ต้องหลีกเลี่ยงอาหารร้อน อาหารเผ็ด หรืออาหารแข็งในช่วงแรกของการพักฟื้น เพราะจะมีผลกับแผลในปาก
  • คนไข้ต้องทำให้ช่องปากและฟันชุ่มชื้นโดยการดื่มน้ำมาก ๆ เพื่อช่วยให้เลือดที่ติดอยู่ที่แผลหลุดออกง่าย และทำให้ริมฝีปากไม่แห้ง และใช้น้ำยาบ้วนปากบ่อย ๆ เพื่อรักษาความสะอาดในช่องปากและฟัน

4. รักษาสุขอนามัยในช่องปาก

  • คนไข้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์ในการดูแลสุขอนามัยของช่องปากอย่างเคร่งครัด
  • คนไข้อาจใช้น้ำยาบ้วนปาก โดยบ้วนปากบ่อย ๆ เพื่อให้ช่องปากและฟันสะอาด ตามคำแนะนำของศัลยแพทย์
  • ทำความสะอาดในช่องปากและฟัน ด้วยการแปรงฟันและเหล็กดัดฟันอย่างนุ่มนวล ต้องเลือกใช้แปรงสีฟันเด็กที่นุ่ม เพราะยังอ้าปากกว้างไม่ได้ ระวังอย่าให้ถูกแผลบริเวณที่ผ่าตัด
  • หลีกเลี่ยงการออกแรงดูดอาหารเหลวแรง ๆ จากหลอดกาแฟ เพราะการออกแรงดูดแรง ๆ อาจจะทำให้กระทบกระเทือนแผล ทำให้แผลหายช้า

5. รับประทานยา

  • คนไข้ต้องรับประทานยาตามแพทย์สั่ง รวมถึงยาปฏิชีวนะ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นยาน้ำ
  • หากคนไข้ต้องใช้น้ำยาบ้วนปากหรือน้ำยาบ้วนปากที่มียาปฏิชีวนะเป็นส่วนผสมบ่อย ๆ เพื่อรักษาความสะอาดของช่องปากและฟัน และสร้างความชุ่มชื้น

6. พักผ่อนและออกกำลังกายเบา ๆ

  • คนไข้ต้องพักผ่อนมาก ๆ เพื่อช่วยให้แผลหายเร็ว หลีกเลี่ยงการขยับขากรรไกรและการพูดมากเกินไป 
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายอย่างหักโหมเป็นเวลานานหลายสัปดาห์ตามคำแนะนำของศัลยแพทย์
  • คนไข้สามารถออกกำลังกายเบา ๆ สามารถเดินไปเดินมา ยกแขนขา หลังการผ่าตัด 1-2 สัปดาห์แรก

7. พบแพทย์ตามนัด

  • คนไข้ต้องพบศัลยแพทย์ตามนัดหมายทุกครั้ง เพื่อติดตามผลการผ่าตัด  และตัดไหม
  • คนไข้ต้องแจ้งความกังวลหรือปัญหาใด ๆ ให้ศัลยแพทย์ทราบ

8. บรรเทาความเจ็บปวดและความไม่สบาย

  • หากคนไข้มีอาการปวดอย่างรุนแรง มีเลือดออก ต้องแจ้งให้ศัลยแพทย์ทราบทันที
  • คนไข้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อบรรเทาความรู้สึกไม่สบาย

9. ดูแลการจัดฟัน

          คนไข้อาจจะต้องไปจัดฟันต่อ เพื่อให้ฟันบนและฟันล่างสบกันได้ดีหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรแล้ว ตำแหน่งฟันในปากอาจจะยังไม่สมดุล จึงต้องมีการปรับฟันบนและฟันล่างให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถขบเคี้ยวและกัดอาหารได้อย่างปกติ และไม่กระทบต่อข้อต่อขากรรไกร (TMJ)

10. สวมผ้ารัดหน้า

          คนไข้สามารถใช้ผ้ารัดหน้าเพื่อพยุงกระดูกและขากรรไกร ขณะเดียวกัน ช่วยลดอาการบวมหลังการผ่าตัดได้ด้วย 

11. ควบคุมอารมณ์และจิตใจ

  • การพักฟื้นหลังการผ่าตัดอาจส่งผลกระทบต่ออารมณ์และจิตใจของคนไข้ได้ เพราะไม่สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ คนไข้ควรมีคนคอยให้กำลังใจและความช่วยเหลือ
  • หากคนไข้มีอาการซึมเศร้าหรือความวิตกกังวล ต้องปรึกษาศัลยแพทย์ทันที

12. รับประทานอาหารเสริม

          คนไข้ควรรับประทานอาหารเสริม เช่น แคลเซียม วิตามินดี หรือสารอาหารอื่น ๆ เพื่อเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง เพราะหลังผ่าตัด จะมีข้อจำกัดในการรับประทานอาหาร คนไข้อาจจะขาดสารอาหารได้

13. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์

          คนไข้ต้องหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ระหว่างการพักฟื้น เพราะบุหรี่และแอลกอฮอล์ทำให้แผลหายช้า

14. ใช้อุปกรณ์เสริม

          หากคนไข้ได้รับอุปกรณ์เสริม เช่น ยางยืดหรือเฝือก เหล็กดัดฟัน ต้องใช้อุปกรณ์ดังกล่าวตามคำแนะนำของศัลยแพทย์ เพื่อช่วยในการรักษาแนวขากรรไกรให้เหมาะสม

15. เทคนิคลดอาการบวม:

          คนไข้สามารถนวดหน้าเบา ๆ ควบคู่ไปกับการประคบเย็น เพื่อลดอาการบวมตามคำแนะนำของศัลยแพทย์

16. การตรวจสอบภาวะแทรกซ้อน:

  • คนไข้ต้องสังเกตอาการติดเชื้อ เช่น มีไข้ถาวร บวมมากเกินไป หรือมีของเหลวไหลออกจากบริเวณที่ผ่าตัด
  • คนไข้ต้องแจ้งความเปลี่ยนแปลงที่ไม่คาดคิดให้ศัลยแพทย์ทราบในทันที

          การพักฟื้นอาจแตกต่างกันไปในคนไข้แต่ละราย การพักฟื้นอาจใช้เวลานาน 1-3 เดือน คนไข้จะสามารถเห็นผลการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร  คนไข้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของศัลยแพทย์ในการพักฟื้นหลังผ่าตัดอย่างเคร่งครัด เพื่อให้ได้ผลการผ่าตัดที่ดีที่สุด และเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน หากคนไข้มีคำถามหรือความกังวลใด ๆ ระหว่างการรักษา ควรปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อขอคำแนะนำในการรักษา โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล ยินดีให้บริการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรด้วยทีมศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ให้ผลการผ่าตัดที่ดี มีความปลอดภัยสูง 

การศัลยกรรมขากรรไกร ผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร บน และ ล่างพร้อมกัน มีความเสี่ยงหรือไม่

          การผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างพร้อมกัน หรือ Two jaw Surgery เป็นการผ่าตัดที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน ซึ่งเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนตำแหน่งของขากรรไกรบนและล่าง โดยการผ่าตัดขากรรไกรบนที่ยื่นเกินไปให้ถอยกลับไป หรือ การผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบนที่ยุบเกินไปให้เลื่อนออกมา ขณะเดียวกันอาจจะผ่าตัด เลื่อนขากรรไกรล่างที่ยื่นออกมามากเกินไป  ต้องเลื่อนขากรรไกรล่างให้ขยับเข้าไปให้ ฟันบนและล่างสามารถสบกันได้พอดี  หรือเลื่อนขากรรไกรล่างที่หลุบเข้าไปให้เลื่อนออกมา พอดีกับ ขากรรไกรบน ให้ฟันบนและฟันล่างสามารถสบกันได้อย่างพอดี  การเลื่อขากรรไกรบนและล่างพร้อมกัน ต้องมีการ X ray โดยทำ CT scan เพื่อวางแผนการผ่าตัด ให้ตำแหน่งของขากรรไกรบนและล่าง สมดุล กับใบหน้า ทำให้ฟันกรามสบกันให้ดี แล้ว อาจจะมาปรับตำแหน่งของฟันหน้า ให้สบกันให้พอดีด้วยการจัดฟันหลังการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกร  

          แม้ว่าการผ่าตัดเลื่อนขากรรไกรบน และล่างพร้อมกันนี้ นี้จะมีประโยชน์หลายประการ ทั้งด้านความสวยงาม ความสมดุล ของใบหน้าและหน้าที่การบดเคี้ยว และการขบกัดอาหารของฟันดีขึ้น แต่ก็เป็นการผ่าตัดมีความเสี่ยงด้วยเช่นกัน เนื่องจาก เกึ่ยวข้องกับ กระดูกและฟัน รวมถึงโพรงประสาทฟัน ที่มีเส้นเลือด เส้นประสาทและเซลต่างๆ    ถ้าผ่าตัดพลาดไปโดนโพรงประสาทฟัน ทำให้ เส้นเลือดไปเลี้ยงเซลต่างๆในฟันทำให้ฉีกขาด ทำให้เกิด "ฟันตาย. ฬนระหว่างการผ่าตัดต้องใช้ทีมศัลยแพทย์เฉพาะทางช่องปาก ใบหน้าและขากรรไกร (Maxillofacial Surgeon) ที่มีประสบการณ์เท่านั้น ขณะเดียวกันการเลือกใช้เครื่องมือที่ตัดกระดูกขากรรไกร ต้องทันสมัย มีความคม และควบคุมง่าย เพื่อลดการบอบช้ำของเนื้อเยื่อ และกระดูกขากรรไกร ป้องกันการสูญเสียเลือด( Bleeding)มากเกินไป ลดการติดเชื้อ ( Infection)  เส้นประสาท ฉีกขาด บอบช้ำ ( Nerve Injury ) ป้องกันขากรรไกรแตกหักขณะผ่าตัด  การจัดวางตำแหน่งของขากรรไกรล่างจะเกี่ยวข้องกับข้อต่อเชื่อมต่อขากรรไกรล่างกับฐานของกะโหลกศีรษะ (Temporomandibular joint : TMJ) ต้องมีการวางตำแหน่งให้พอดี ถ้าวางตำแหน่งไม่พอดีจะมีปัญหาเกิดอาการปวดกราม ปวดขากรรไกร เจ็บปวดทั้งบริเวณข้อต่อขากรรไกรและกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องได้ อาจต้องผ่าตัดใหม่ 

          หลังการผ่าตัด ต้องระมัดระวังในการรับประทานอาหาร หลังการผ่าตัดในช่วงสัปดาห์แรก คนไข้ต้องใช้หลอดดูดอาหารอ่อน/เหลว หลังจากนั้น จึงสามารถรับประทานอาหารอ่อน เพราะกระดูกขากรรไกรที่ผ่าตัดใส่สกรูไว้ยังไม่แข็งแรงมาก ไม่สามารถขบเคี้ยวอาหารได้ตามปกติ จึงต้องรับประทานอาหารอ่อน อาจจะเกิดการขาดสารอาหารหรือได้รับอาหารไม่ครบทั้ง 5 หมู่ อาจจะต้องรับประทานอาหารเสริมจนกว่าโครงสร้างของกระดูกและฟันแข็งแรง ประมาณ 2-3 เดือนขึ้นไป จึงจะเริ่มฝึกการขบเคี้ยวอาหารอ่อน ๆ แล้วค่อย ๆ เพิ่มการบดเคี้ยวอาหารเข้าสู่ภาวะปกติ 

          ต้องใช้เวลานาน 2-3 เดือนในการยุบบวมเพื่อปรับรูปหน้าใหม่

          โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของคนไข้เป็นอันดับแรก เราใช้มาตรการด้านความปลอดภัยทุกอย่างในการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงของการผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างพร้อมกัน รวมถึงการผ่าตัดใบหน้าประเภทอื่น

          เมื่อเทียบกับการผ่าตัดใบหน้าประเภทอื่น การผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างพร้อมกันเป็นหัตถการที่ซับซ้อนกว่า การผ่าตัดต้องใช้การดมยาสลบ และต้องใช้เวลาพักฟื้นนานกว่า อย่างไรก็ตาม ต้องมีการวางแผนผ่าตัดและการดูแลหลังผ่าตัดเป็นอย่างดี เพื่อลดความเสี่ยงของการผ่าตัด

          โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลใช้เทคนิคผ่าตัดที่ทันสมัยที่สุด เพื่อให้มั่นใจว่าได้ผลการผ่าตัดที่ดีที่สุดสำหรับคนไข้ เราทำงานร่วมกับทีมศัลยแพทย์ด้านช่องปากและใบหน้าที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญสูง ซึ่งผ่านการฝึกอบรมด้านเทคนิคการแพทย์ที่ใหม่ล่าสุดสำหรับการผ่าตัดขากรรไกรสองข้าง

  • ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลแตกต่างจากสถานพยาบาลอื่น คือ ความมุ่งมั่นในการดูแลความปลอดภัยของคนไข้ โรงพยาบาลมีทีมผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการฝึกอบรมมาอย่างดี รวมถึงวิสัญญีแพทย์และทีมพยาบาลที่ทำงานร่วมกัน เพื่อให้มั่นใจว่าคนไข้รู้สึกสบายใจและได้รับการดูแลเป็นอย่างดีทั้งก่อน ระหว่าง และหลังผ่าตัด นอกจากนี้ โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลยังปฏิบัติตามขั้นตอนที่เข้มงวดเพื่อควบคุมการติดเชื้อ และดูแลคนไข้ด้วยความเอาใจใส่ เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน
  • ปัจจัยสำคัญอีกประการที่ส่งผลต่อความปลอดภัยของการผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างพร้อมกันที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล คือ การให้ความรู้กับคนไข้ก่อนผ่าตัด คนไข้จะได้รับคำแนะนำอย่างละเอียดจากศัลยแพทย์หลังการซักถามประวัติทางการแพทย์และความคาดหวังของคนไข้ คนไข้จะได้รับทราบความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ซึ่งช่วยให้คนไข้มั่นใจในการเข้ารับการผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างที่โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล

บทสรุป

          การผ่าตัดขากรรไกรบนและล่างเป็นหัตถการที่ซับซ้อน ต้องใช้ทั้งทักษะและความเชี่ยวชาญสูงเพื่อให้ได้ผลการผ่าตัดที่น่าพอใจและมีความปลอดภัย โรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมลมุ่งมั่นที่จะให้การบริการที่ดีที่สุดแก่คนไข้ด้วยมาตรการด้านความปลอดภัยเพื่อลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น โรงพยาบาลใช้อุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัย ทีมศัลยแพทย์มีประสบการณ์และความชำนาญสูง เราคำนึงถึงความปลอดภัยของคนไข้เป็นสำคัญ

 
 
 
 

World-Class_Elite_Plastic_Surgeons

World-Class_Professional_Healthcare

World-Class_Services