การผ่าตัดแก้ไขพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว
พังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว (Capsular Contracture) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยหลังการผ่าตัดเสริมหน้าอก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อเนื้อเยื่อรอบเต้านมเทียมแข็งตัวขึ้น จากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำปฏิกิริยากับวัสดุแปลกปลอม การรัดตัวนี้อาจทำให้รู้สึกว่าเต้านมแข็ง มีขนาดและรูปร่างที่ผิดไปจากปกติ
การรัดตัวของพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมแบ่งออกเป็น 4 ระดับ ตามระบบการจำแนกของ Baker
- ระดับ 1 : เต้านมยังอ่อนนุ่ม มีขนาดและรูปร่างตามธรรมชาติ
- ระดับ 2 : เต้านมแน่นเล็กน้อย แต่ยังดูปกติ
- ระดับ 3 : เต้านมเต่งตึง และดูผิดปกติ
- ระดับ 4 : เต้านมแข็ง เจ็บปวดเมื่อสัมผัส และดูผิดปกติ
หากคนไข้มีอาการหดเกร็งของถุงเต้านมเทียมและรู้สึกไม่สบายหรือไม่พอใจกับรูปร่างของหน้าอก จำเป็นต้องผ่าตัดแก้ไข โดยตัดพังผืด (scar tissue /capsule) ที่ก่อตัวรอบ ๆ ถุงเต้านมเทียมออก หรือ เปลี่ยนถุงเต้านมเทียมอันใหม่
สาเหตุที่ทำให้พังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว ได้แก่
- เทคนิคการผ่าตัดของศัลยแพทย์ : วิธีการผ่าตัดอาจทำให้พังผืดหดตัว เช่น การปนเปื้อนและเลือดคั่ง (hematoma) (เลือดที่สะสมตัวนอกหลอดเลือด) ในระหว่างการผ่าตัด ซึ่งอาจเพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการหดตัวของพังผืดได้
- วัสดุทางการแพทย์ที่ใช้ทำถุงเต้านมเทียม: คุณภาพและประเภทของวัสดุทางการแพทย์ของถุงเต้านมเทียม สามารถทำให้พังผืดหดเกร็งได้เช่นกัน วัสดุทางการแพทย์บางชนิดอาจมีแนวโน้มที่จะก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากกว่าวัสดุทางการแพทย์ชนิดอื่น
- ปัจจัยที่เกิดจากคนไข้: ระบบภูมิคุ้มกันของคนไข้แต่ละคนและปฏิกิริยาต่อต้านสิ่งแปลกปลอมของถุงเต้านมเทียมก็สามารถทำให้พังผืดหดตัวได้เช่นกัน
คนไข้ต้องปรึกษาศัลยแพทย์เกี่ยวกับความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการผ่าตัดเสริมหน้าอก รวมถึงความเป็นไปได้ที่จะเกิดพังผืดหดตัว ศัลยแพทย์จะบอกขั้นตอนที่สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ได้
วิธีการแก้ไขภาวะพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัด มีหลายขั้นตอน ได้แก่
- การผ่าตัดเลาะพังผืดที่หุ้มถุงเต้านมเทียม (Capsulotomy): ศัลยแพทย์จะเลาะพังผืดรอบ ๆ ถุงเต้านมเทียม เทคนิคนี้จะใช้เมื่อพังผืดที่หุ้มถุงเต้านมเทียมหดตัวเล็กน้อยถึงปานกลาง (ระดับ 1-2) ระหว่างการผ่าตัด ศัลยแพทย์กรีดเปิดแผลในแคปซูลและค่อย ๆ เลาะพังผืดออก เพื่อให้ถุงเต้านมเทียมเคลื่อนตัวได้อย่างอิสระมากขึ้น
- การตัดพังผืดหุ้มถุงเต้านมเทียม (Capsulectomy): ศัลยแพทย์จะตัดพังผืดรอบ ๆ ถุงเต้านมเทียมออกทั้งหมด เทคนิคนี้จะใช้ในกรณีที่พังผืดหดตัวอย่างรุนแรง หรือระดับ 3-4 ศัลยแพทย์จะกรีดเปิดแผลที่เต้านมและตัดพังผืดออก แล้วเปลี่ยนถุงเต้านมเทียมหากจำเป็น
การแก้ไขภาวะพังผืดห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัวทั้ง 2 วิธีต้องดำเนินการภายใต้การดมยาสลบ และอาจต้องพักรักษาตัวระยะสั้นที่โรงพยาบาล คนไข้ต้องปฏิบัติตามคำแนะนำหลังการผ่าตัดของศัลยแพทย์อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าการรักษาจะได้ผลดี และลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะแทรกซ้อน
รูปก่อนและหลังการผ่าตัดแก้ไขพังผืดที่ห่อหุ้มถุงเต้านมเทียมรัดตัว