Voice Masculinization / VMS / Female to Male Voice Surgery in Bangkok Thailand

การผ่าตัดเปลี่ยนเสียง หญิงเป็นชาย (VMS)

         เมื่อชายข้ามเพศไม่พอใจในเสียงพูดของตนเอง และเข้ารับการรักษาด้วยฮอร์โมนเพศชายแล้ว พวกเขาสามารถเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนเสียงจากหญิงเป็นชายได้ เสียงของเพศชายจะแตกต่างจากเสียงของเพศหญิง เพราะเสียงของเพศชายจะใหญ่และทุ้มกว่า ความถี่ของเสียงก็ต่ำกว่า

          ก่อนผ่าตัด คนไข้จะได้รับการตรวจพยาธิสภาพของเส้นเสียงด้วยเครื่อง videolaryngostroboscopy และศึกษาลักษณะของเสียงพูด (spectrum-acoustic study) เพื่อดูความถี่พื้นฐาน แล้วจึงวางแผนการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง เพื่อให้การผ่าตัดได้ผลดีที่สุด

          เสียงของเพศชายจะมีความถี่ประมาณ 100-125 เฮิร์ต

         เทคนิคการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง หญิงเป็นชาย จะทำให้มีรอยแผลประมาณ 2-3 เซนติเมตรบริเวณลำคอ โครงสร้างภายนอกของกล่องเสียงจะถูกลดขนาดลง และทำให้มองเห็นได้อย่างชัดเจน เส้นเสียงจะถูกทำให้สั้นลง เพื่อให้มีเสียงที่ลึกขึ้นและต่ำลง

 

รูปที่ 1: การลดขนาดของกล่องเสียง

 

          การผ่าตัดเปลี่ยนเสียง หญิงเป็นชาย มีความปลอดภัยมากและไม่มีผลกระทบต่อเส้นเสียง

          หลังผ่าตัด คนไข้จะรู้สึกกลืนลำบาก มีเสมหะในคอ และรู้สึกเหมือนมีก้อนแข็งที่ลำคอ

          คนไข้ต้องนอนโรงพยาบาลนาน 1-2 คืน

 

การดูแลหลังผ่าตัด

วันที่ 1-7: คนไข้ต้องไม่พูดหรือใช้เสียงจนกว่าจะพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาเป็นครั้งแรก ไม่มีข้อจำกัดด้านอาหารและเครื่องดื่ม

วันที่ 3-7: คนไข้ต้องรักษาเส้นเสียงให้ชุ่มชื้นโดยการดื่มน้ำมาก ๆ และพ่นคอด้วยน้ำเกลือ

วันที่ 8-10: หลังพักการใช้เสียง คนไข้จะเข้ารับการตรวจพยาธิสภาพของเส้นเสียงและกล่องเสียงด้วยเครื่อง videolarygostroboscopic พร้อมทั้งดูคลื่นความถี่ของเสียงพูด ดึงผ้าพันแผลออก แล้วตกแต่งแผล และพบนักอรรถบำบัด

          นักอรรถบำบัดจะสอนให้คนไข้ใช้เสียง คนไข้จะสามารถพูดเป็นเสียงของเพศหญิงได้ภายใน 3-8 เดือนหลังผ่าตัด คนไข้ต้องพบแพทย์เพื่อติดตามผลการรักษาในเดือนที่ 3 เดือนที่ 6 และเดือนที่ 12 หลังผ่าตัด 

หมายเหตุ: ทีมศัลยแพทย์ขอสงวนสิทธิ์ในการประเมินความเป็นไปได้ของการผ่าตัดเปลี่ยนเสียงเป็นกรณี หากคนไข้เคยเข้ารับการผ่าตัดเปลี่ยนเสียงมาแล้วด้วยเทคนิคอื่น และไม่พอใจกับเสียงที่ได้รับหลังผ่าตัด

          เพื่อหลีกเลี่ยงอาการกรดไหลย้อน คนไข้ควรงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน งดการรับประทานช็อกโกแลต สะระแหน่ อาหารที่มีไขมัน อาหารที่มีกรด น้ำโซดา และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

          คนไข้สามารถกลับไปทำงานได้หลังผ่าตัดแล้ว 1 สัปดาห์ หากคนไข้ต้องการใช้เสียง ควรรออย่างน้อย 2 สัปดาห์

 

ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อน

  • รอยแผลบริเวณลำคอ
  • การติดเชื้อบริเวณที่ผ่าตัด
  • ภาวะเลือดคั่ง (Hematoma)
  • เนื้อตาย และการบวมช้ำ
  • ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด
  • เสียงแหบ
  • เสียงไม่เปลี่ยนเลย (ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของคนไข้)

 

การบำบัดการพูดโดยใช้เสียงของเพศชาย

          การบำบัดการพูดโดยใช้เสียงของเพศชายเป็นการรักษาเพื่อทำให้เสียงฟังดูคล้ายเสียงของผู้ชายมากขึ้น การรักษาต้องดำเนินการทั้งก่อนและหลังการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง หญิงเป็นชาย เพื่อให้คนไข้ไม่ต้องบีบเสียงอีกต่อไป ก่อนจะทำการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง หญิงเป็นชาย คนไข้ต้องได้รับการประเมินพยาธิสภาพของเส้นเสียง หลังการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง หญิงเป็นชาย คนไข้ต้องเรียนรู้วิธีการออกเสียงโดยใช้เสียงของเพศชาย รวมทั้งวิธีการพูดอย่างเป็นธรรมชาติ การบำบัดการพูดโดยใช้เสียงของเพศชายอยู่ภายใต้การดูแลของนักอรรถบำบัดที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์ คนไข้จะได้รับการฝึกฝนจนกระทั่งสามารถพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ การฝึกพูดโดยไม่มีนักอรรถบำบัดอาจทำให้เส้นเสียงบวม และทำให้การบำบัดล้มเหลว

สาระน่ารู้: การผ่าตัดเปลี่ยนเสียง หญิงเป็นชาย

ดูแลคนไข้ผ่าตัดเปลี่ยนเสียงอย่างไร

การดูแลคนไข้หลังการผ่าตัดเปลี่ยนเสียงเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้การผ่าตัดประสบความสำเร็จและคนไข้ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว

ทำไมเสียงจึงกลายเป็นอัตลักษณ์ทางเพศ

เสียงพูดสำคัญต่ออัตลักษณ์ทางเพศ เสียงพูดของคนข้ามเพศทำให้พวกเขามองเห็นตัวเองและคนอื่นมองเห็นพวกเขา เสียงพูดเกี่ยวข้องกับอัตลักษณ์ทางเพศ

การสูบบุหรี่เป็นอันตรายต่อการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง

การสูบบุหรี่ทำให้มีผลเสียต่อการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง อาจมีผลกระทบด้านลบต่อผลการผ่าตัด และการหายของบาดแผล การสูบบุหรี่เป็นสิ่งเลวร้ายสำหรับการผ่าตัดเปลี่ยนเสียง

 

ดูเพิ่มเติม

 

วีดิทัศน์: การผ่าตัดเปลี่ยนเสียง หญิงเป็นชาย / VMS

 

 

 

เคล็ดลับการมีเสียงใส

 หากคุณต้องการมีเสียงใส ควรทำตามวิธีการต่อไปนี้

1. ทำให้เส้นเสียงชุ่มชื่น: การดื่มน้ำมาก ๆ ทำให้เส้นเสียงชุ่มชื้น ทำให้เสียงใสขึ้นเวลาพูด

2. ฝึกการออกเสียง: การใช้เสียงก็เหมือนกับการเล่นกีฬา ต้องมีการทดสอบเสียงก่อนพูด โดยการหายใจลึก ๆ เพื่อขยายปอด เช่น การฮัมเพลง การฝึกใช้ริมฝีปากทั้งห่อและเหยียดตรง พร้อมกับเปล่งเสียงออกมา และการบริหารลิ้นโดยการกระดกลิ้นขึ้นและลง

3. ฝึกวางท่าทางให้ถูกต้อง: การวางท่าทางที่ถูกต้องทำให้คนไข้หายใจเข้าลึก ๆ เต็มปอด แล้วจึงค่อย ๆ เปล่งเสียงออกมา เพื่อให้กระแสลมจากปอด ผ่านหลอดลม กล่องเสียง เส้นเสียง และช่องปาก ช่วยให้คนไข้มีเสียงใส การวางท่าทางที่ถูกต้องต้องยืนตรง ยืดอกให้ตั้งตรง เชิดหน้าให้ตรง 

4. ฝึกการหายใจเข้า-ออก: ฝึกการใช้กล้ามเนื้อกระบังลม โดยการหายใจเข้าลึก ๆ เพื่อให้กระบังลมลดตัวลง ทำให้ช่องอกใหญ่ขึ้น ปอดก็จะขยายใหญ่ขึ้น เวลาหายใจออก กล้ามเนื้อกระบังลมจะยกตัวขึ้น ทำให้ปอดหดตัวลง เพื่อให้อากาศไหลผ่านหลอดลม กล่องเสียง เส้นเสียง และช่องปาก 

5. ฝึกพูดให้มีจังหวะจะโคนปกติ ไม่เร็วหรือช้าจนเกินไป ถ้าพูดเร็ว คนฟังจะฟังไม่ทัน ถ้าพูดช้าเกินไป คนฟังจะรู้สึกเบื่อและรำคาญ ดังนั้น ควรฝึกพูดออกเสียงอย่างเป็นธรรมชาติ ไม่บีบเสียงเล็กแหลมให้ออกทางรูจมูก บางคนติดนิสัยพูดให้มีเสียงเล็กแหลม แต่ออกทางรูจมูก จะทำให้เหนื่อยง่ายเวลาพูด

6. พูดด้วยเสียงที่ดังเหมาะสม ใช้ความดังปกติที่คนอื่นสามารถได้ยิน ไม่พูดตะโกนด้วยเสียงที่ดังเกินไป

7. หลีกเลี่ยงการพูดมากในกรณีที่เจ็บคอ เพราะเส้นเสียงอักเสบ

8. หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ การดื่มสุรา และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เพราะจะทำให้ปากแห้ง คอแห้ง แล้วเส้นเสียงจะแห้งตามไปด้วย ทำให้พูดแล้วเสียงไม่ไพเราะ

9. ทำความสะอาดช่องปาก เส้นเสียง กล่องเสียง ดื่มน้ำมาก ๆ ไม่พูดมากจนเกินไป 

          พึงระลึกอยู่เสมอว่าการฝึกพูดอย่างชัดถ้อยชัดคำทำให้คนไข้สามารถพัฒนาให้เสียงดีขึ้น

 
 
 
 

World-Class_Elite_Plastic_Surgeons

World-Class_Professional_Healthcare

World-Class_Services