ถ้าไม่รักษาภาวะเต้านมโตในผู้ชาย จะมีผลเสียอย่างไร?

การไม่รักษาภาวะเต้านมโตในเพศชาย จะมีผลเสียอย่างไร?

           ภาวะเต้านมโต (Gynecomastia) คือ สภาวะที่เนื้อนม หรือเนื้อเยื่อบริเวณหน้าอกของผู้ชายขยายใหญ่ขึ้น มีเต้านมโตขึ้น แม้ว่าภาวะเต้านมโตในเพศชาย จะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ก็อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อคุณภาพชีวิต การดำเนินชีวิตประจำวัน ความผิดปกติ ไม่สวยงาม ความไม่มั่นใจในตัวเอง  มีผู้ชายจำนวนมากที่มีภาวะเต้านมโต  ซึ่งรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ไม่ได้รักษา เนื่องจากขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสภาวะดังกล่าวของร่างกาย  อย่างไรก็ตาม การไม่รักษาในกลุ่มคนที่ มีสภาวะรุนแรง นมโตมากๆ และ ห้อยย้อย อาจจะมีผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมาก

ภาวะเต้านมโต

ภาพที่ 1 แสดงผลการผ่าตัดภาวะเต้านมโตในเพศชาย เกรด IV หลังการรักษา1 เดือน

ภาวะแทรกซ้อนจากการมีภาวะเต้านมโตในเพศชาย

          ภาวะเต้านมโตในชาย อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน ที่พบได้ทั่วไป เช่น อาการเจ็บเต้านม อาการกดเจ็บ (tenderness) และการระคายเคืองผิวหนัง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาการเหล่านี้อาจรุนแรงขึ้น และอาจต้องรักษาด้วยการผ่าตัดในที่สุด ภาวะเต้านมโตอาจเกิดจากผลของโรคบางชนิด  ที่ก่อให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น มะเร็งต่อมลูกอัณฑะ   ถ้ากรณีนี้ไม่ทำการรักษา ภาวะเต้านมโตในผู้ชาย  อาจจะพลาดโอกาส ในการวินิจฉัย และรักษาโรค มะเร็งต่อมลูกอัณฑะ

ผลกระทบด้านจิตใจ การมีภาวะเต้านมโตในเพศชาย

          ภาวะเต้านมโตอาจส่งผลกระทบต่อความมั่นใจในตนเองและภาพลักษณ์  ผู้ที่มี ภาวะเต้านมโตในเพศชาย อาจรู้สึกวิตกกังวลและซึมเศร้า ผู้ชายที่มีภาวะเต้านมโตแต่ไม่ได้รับการรักษา  อาจจะหลีกเลี่ยงการออกกำลังกาย การเข้าสังคม และการพบปะสังสรรค์ ซึ่งอาจจะยิ่งทำให้เกิดความทุกข์รู้สึกวิตกกังวล

สังคมไม่ยอมรับ

          ภาวะเต้านมโตอาจสร้างความอับอาย  ผู้ชายที่มีภาวะเต้านมโตแต่ไม่รักษาอาจถูกเยาะเย้ย ล้อเลียน และถูกกลั่นแกล้ง ทำให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ 

ส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิต

          หากไม่รักษาภาวะเต้านมโต (gynecomastia)  ผู้ชายบางคนอาจมีคุณภาพชีวิตที่ย่ำแย่ ส่งผลเสียต่อการดำรงชีวิตประจำวัน เพราะไม่สามารถทำกิจกรรมที่เคยชื่นชอบได้ เช่น ว่ายน้ำ เล่นกีฬา หรือสวมเสื้อผ้าบางประเภท จนอาจรู้สึกโดดเดี่ยวและเหงา

ก่อนและหลังรักษาภาวะเต้านมโตก่อนและหลังรักษาภาวะเต้านมโต

ภาพที่ 1 แสดงผลการผ่าตัดภาวะเต้านมโตในเพศชาย เกรด I และ II หลังการรักษา 1 เดือน

          แม้ว่าสภาวะเต้านมโตในเพศชาย จะไม่เป็นอันตราย แต่ควรเข้ารับการรักษา ไม่ว่าจะด้วยการผ่าตัด การใช้ยา หรือการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิต การรักษาภาวะเต้านมโตจะทำให้การดำรงชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันดีขึ้น   ส่งผลให้คุณภาพชีวิต ดีขึ้น   การรักษา สภาวะเต้านมโตในเพศชาย ต้องปรึกษาศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และมีประสบการณ์เพื่อให้ผลการรักษาออกมาดีที่สุด