ก่อนผ่าตัดใหญ่ต้องรู้ ยาสลบแบบดม อันตรายไหม

ในปัจจุบันนี้เชื่อว่าหลาย ๆ คนที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ส่วนใหญ่จะมีความกังวลเกี่ยวกับการใช้ยาสลบแบบดมเนื่องด้วยเหตุผลต่าง ๆ หนึ่งในนั้นคงไม่พ้นเรื่องกลัวหลับแล้วไม่ตื่นขึ้นมาอีกเลย จากการรับยาสลบในปริมาณหรือชนิดที่ไม่เหมาะสม รวมทั้งอาจเกิดการผิดพลาดระหว่างการรักษา ที่พบเห็นได้ตามข่าวการเสียชีวิตจากการใช้ยาสลบ แบบดมนั่นเอง 

แต่ในความเป็นจริงแล้ว เหตุการณ์เช่นนี้ไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก ส่วนใหญ่มักเกิดจากการไม่ตรวจสภาพร่างกายให้ละเอียดก่อนการวางแผนทำหัตถการ, ร่างกายของคนไข้ไม่พร้อมกับการผ่าตัด, มีอาการแทรกซ้อนจากโรคร้ายหรือแม้กระทั่งการไม่ปฏิบัติตามแพทย์สั่งก่อนเข้ารับการผ่าตัดนั่นเอง 

รวมถึงหากไม่มีวิสัญญีแพทย์ดูแลในระหว่างการใช้ยาสลบ แบบดม เป็นปัจจัยสำคัญที่ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับคนไข้มากยิ่งขึ้น  ในวันนี้ Kamol Hospital จะพาทุกท่านมาไขข้อสงสัยกันว่ายาสลบ แบบดมคืออะไร ? อันตรายหรือไม่? เพื่อความสบายใจก่อนเข้ารับการผ่าตัดที่กำลังจะมาถึง

ยาสลบแบบดมคืออะไร 

ยาสลบ แบบดม คือ ยาที่วิสัญญีแพทย์ใช้เพื่อให้ผู้ป่วยหลับ ไม่รู้สึกตัว หรือหมดสติเพื่อเข้ารับการรักษาหรือการผ่าตัด  ซึ่งปกติแล้วการใช้ยาสลบมีหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบก๊าซ โดยจะให้ผู้ป่วยสูดดมเข้าไปผ่านทางท่อช่วยหายใจ หรือใช้วิธีผ่านทางหน้ากาก รวมไปถึงการฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน

ทำไมต้องใช้ยาสลบในการผ่าตัด

มีเหตุผลมากมายในการรักษา ที่มีความจำเป็นต้องใช้ยาสลบ ดังต่อไปนี้

การใช้ยาสลบในการผ่าตัดหรือการทำหัตถการ เพื่อการวินิจฉัยหรือรักษาโรคต่าง ๆ ที่ทำให้คนไข้เกิดความเจ็บปวด  กระทบต่อระบบการทำงานในร่างกาย และสภาพจิตใจ รวมไปถึงในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถอยู่นิ่ง เพื่อที่จะทำการรักษาผ่าตัดให้สำเร็จได้ 

การใช้ยาสลบ จะสามารถระงับความรู้สึกและการตอบสนองต่อปฏิกิริยาความเจ็บปวด ในขณะที่ทำการผ่าตัดหรือมีการทำหัตถการนั้น ๆ ทั้งนี้ยังช่วยให้กระบวนการตลอดการผ่าตัดของศัลยแพทย์ทำงานได้สะดวกขึ้นอีกด้วย

ขั้นตอนการใช้ยาสลบแบบดม

ขั้นตอนการใช้ยาสลบแบบดม 

ขั้นตอนการใช้ยาสลบจะแบ่งเป็นตั้งแต่ขั้นตอนก่อนวางยา ขณะวางยาสลบ และหลักการวางยาสลบโดยมีรายละเอียดต่าง ๆ ดังนี้

ก่อนวางยาสลบ แบบดม 

  • ในขั้นตอนแรก วิสัญญีแพทย์จะซักประวัติ และแจ้งรายละเอียดการเตรียมตัวอย่างละเอียด ซึ่งผู้รับหัตถการไม่ควรปิดบังข้อมูลใด ๆ รวมทั้งต้องแจ้งโรคประจำตัว ยาที่รับประทานเป็นประจำ ประวัติการแพ้ยาสลบ และหากตั้งครรภ์อยู่ก็ควรแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยเช่นกัน เพื่อจะได้มีการวางแผนการใช้ยาสลบ แบบดมได้อย่างเหมาะสม และปลอดภัย 
  • ในช่วง 7 วันก่อนการผ่าตัด คนไข้จะต้องงดการดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพื่อลดโอกาสการเกิดผลข้างเคียงขณะรักษา หรือภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย 
  • ในกรณีที่คนไข้มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือป่วยโรคอ้วน แนะนำให้ลดน้ำหนักตัวอย่างถูกวิธีก่อนรับการผ่าตัด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง รวมไปถึงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้
  • ต้องงดดื่มน้ำหรือรับประทานอาหารหลังเที่ยงคืนของคืนก่อนหน้าวันผ่าตัด จะช่วยป้องกันการอาเจียน หรือสำลักหลังจากใช้ยาสลบได้ เพราะมีความเสี่ยงสูงที่จะสำลักเข้าสู่ปอด ซึ่งอาจนำไปสู่ปอดอักเสบติดเชื้อได้

ขณะวางยาสลบ แบบดม 

  • สำหรับการใช้ยาสลบแบบดม คนไข้จะต้องสูดดมยาเข้าไป โดยใช้รูปแบบก๊าซ หายใจผ่านหน้ากากครอบ
  • เมื่อยาสลบเข้าสู่ร่างกายแล้ว ยาจะออกฤทธิ์อย่างรวดเร็ว ผู้เข้ารับการรักษาจะรู้สึกง่วง จนกระทั่งหมดสติไป
  • เมื่อผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว หลังจากใช้ยาสลบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แพทย์จะทำการผ่าตัด โดยจะมีวิสัญญีแพทย์คอยสังเกต ติดตามอาการด้วยเครื่องมือวัดสัญญาณชีพ และควบคุมอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อให้ผู้ป่วยหลับตลอดระยะเวลาที่ทำการผ่าตัด และจะไม่ตื่นขึ้นขณะทำการรักษา 
  • ในทางการแพทย์ ไม่เพียงใช้ยาสลบเท่านั้น แต่จะมีการฉีดยาแก้ปวดเข้าไปในเส้นเลือด เพื่อลดความเจ็บปวดหลังการผ่าตัดเมื่อฟื้นจากฤทธิ์ยาสลบร่วมด้วย 

หลังยาสลบแบบดม 

  • เมื่อผ่าตัดหรือทำหัตถการเรียบร้อยแล้ว จะหยุดให้ยาสลบคนไข้ จากนั้นจะให้ผู้ป่วยไปพักที่ห้องพักฟื้น เพื่อคอยสังเกตอาการ โดยระยะเวลาในการพักตัวในโรงพยาบาลจะนานหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยเองและความเห็นของแพทย์ผู้ทำการรักษา
  • หลังจากคนไข้ฟื้นตัวแล้ว  อาจพบอาการข้างเคียงอื่น ๆ ตามมา เช่น เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน สามารถแจ้งทางทีมแพทย์ที่คอยสังเกตอาการ เพื่อรับยาช่วยบรรเทาอาการดังกล่าวให้ทุเลาลงได้ 
  • ในขณะที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล จะต้องรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์
  • หากในกรณีที่แพทย์ให้กลับไปรักษาตัวต่อที่บ้าน ผู้ป่วยจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด หากมีอาการไม่พึงประสงค์เกิดขึ้นให้รีบกลับมาพบแพทย์โดยทันที 
  • ควรงดดื่มแอลกอฮอล์และไม่ขับขี่ยานพาหนะทุกชนิดหลังการผ่าตัด เป็นระยะเวลาประมาณ 1-2 วัน 

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาสลบแบบดม

  • หลังจากใช้ยาสลบแบบดมแล้ว มักเกิดอาการข้างเคียงได้ ดังนี้
  • มีอาการง่วงนอน อ่อนแรง เหนื่อยง่ายและเพลีย
  • เจ็บคอ ปากแห้ง เสียงแหบแห้ง บางรายเกิดอาการคอแห้ง เนื่องจากในระหว่างการผ่าตัดจะมีการสอดท่อช่วยหายใจผ่านช่องปากเข้าไปในลำคอร่วมด้วย 
  • มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด คลื่นไส้ และอาเจียน โดยเป็นอาการที่มักเกิดในระยะแรกหลังจากรู้สึกตัว 
  • หนาวสั่น บางรายอาจเกิดนานหลายนาทีไปจนถึงหลายชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล
  • มีปัญหาเกี่ยวกับกระเพาะปัสสาวะ

ฉีดยาชา VS ยาสลบแบบดม ใช้เทคนิคไหนดี 

ในการรักษาหรือทำหัตถการ การที่จะเลือกใช้เทคนิคฉีดยาชาหรือจะเลือกใช้ยาสลบแบบดมนั้น ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของแพทย์ เนื่องจากการใช้วิธีดมยาสลบระหว่างการผ่าตัด คนไข้จะไม่รู้สึกตัวขณะทำ อาการจะเหมือนนอนหลับ ซึ่งเหมาะกับการผ่าตัดศัลยกรรมใหญ่ ที่ใช้เวลานานและต้องเสียเลือดมาก แต่หากเป็นวิธีการใช้ยาชา คนไข้จะรู้สึกตัวตลอด แต่จะมีความชาเฉพาะจุดเท่านั้น เหมาะกับการทำศัลยกรรมเล็ก ๆ เช่น ศัลยกรรมจมูกและปาก โดยใช้ระยะเวลาผ่าตัดไม่นาน

สรุปบทความ

การใช้ยาสลบแบบดมเป็นเรื่องที่ทำให้ใครหลายคนเกิดความกังวลใจ แต่เมื่อได้ศึกษาข้อมูลจากบทความข้างต้นแล้ว จะเห็นได้ว่าการดมยาสลบไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด หากมีความเข้าใจ มีการเตรียมตัวก่อนการวางยาสลบตามคำแนะนำของแพทย์ มีการเตรียมใจพร้อมรับมือกับอาการข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นได้ และทำการผ่าตัดภายใต้การควบคุมดูแลของวิสัญญีแพทย์อย่างใกล้ชิด

หากต้องการทำศัลยกรรม จะต้องเลือกโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน อย่างโรงพยาบาลศัลยกรรมตกแต่งกมล เรามีทีมแพทย์ผู้ชำนาญ รับรองคุณภาพมาตรฐานสถานพยาบาลระดับโลก โดย JCI สหรัฐอเมริกา ช่วยให้คุณสวย หล่อได้อย่างมั่นใจ สะอาด สะดวก และปลอดภัยอย่างแน่นอน